ปัญหาวิกฤตมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่คนไทยต้องเจอในทุกๆ ปี และสถานการณ์ดูเหมือนจะรุนแรงขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งงานหินของรัฐบาล เนื่องจากมีหลายสาเหตุ และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ ‘อินโฟเควสท์’ ได้นำแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 ของ 8 พรรคการเมืองมาเปรียบเทียบกันว่าจะมีนโยบายอย่างไร และจะทำได้สำเร็จหรือไม่ หากได้เข้ามาเป็นรัฐบาล
– ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
– ผลักดันออกกฎหมายอากาศสะอาด
– เจรจาระหว่างประเทศ ร่วมแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
– ออกกฎหมายอากาศสะอาด
– เข้มรถปล่อยควันดำ โรงงานปล่อยมลพิษ ไซต์งานก่อสร้าง
– อุดหนุนเปลี่ยนรถเมล์เป็นรถไฟฟ้า EV ทั้งหมด
– ติดเครื่องกรองอากาศตามห้องเรียนในพื้นที่เมือง กรุงเทพฯ และปริมณฑล
– ห้ามเผาเด็ดขาด และต้องจัดหาเครื่องมือเก็บเกี่ยว-ขุดกลบเพื่อการเกษตร
– แสดงปริมาณฝุ่นบริเวณโรงเรียน โรงพยาบาล พื้นที่ก่อสร้าง และพื้นที่เสี่ยงให้ประชาชนรับรู้
– ควบคุมรถขนส่งและรถสาธารณะที่ปล่อยฝุ่นเกินมาตรฐาน รวมทั้งการก่อสร้าง
– ผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด
– กำหนดเขตมลพิษต่ำ “Bangkok Low Emission Zone” หรือ B-LEZ (บีเลส) นำร่อง 16 เขตกรุงเทพชั้นใน
– ย้ายโรงงานอุตสาหกรรมออกจากเขตเมือง
– จัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษ
– ส่งเสริมขนส่งสาธารณะ อุดหนุนรถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด
– เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง และเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้กลุ่มเปราะบาง
– ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร
– ตรวจวัดสภาพอากาศ-เตือนภัยให้เร็ว ครอบคลุม ตามมาตรฐานสากล
– เลิกการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินภายในปี 2580
– เร่งเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการเผาในที่โล่ง
– เพิ่มโครงสร้างอำนาจอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
– ส่งเสริมใช้รถพลังงานไฟฟ้าทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถเมล์ ขสมก.
– ผลักดันให้ปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น
– ฟรีโซลาร์เซลล์บ้าน หลังคาเรือนละ 450 บาท
– รับสิทธิซื้อรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 6,000 บาท ผ่อนจ่ายเป็นเวลา 60 งวด
– เปลี่ยนใช้รถเมล์ไฟฟ้าปรับอากาศ 1,250 คัน ปี 66 ตั้งเป้า 1,850 คัน
– บังคับใช้กฎหมายในการใช้รถบนท้องถนนให้เข้มงวด
– ขอความร่วมมือ Work from home
– พัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดเป็นงานหลักของประเทศ
– สิ่งแวดล้อมสีเขียว เศรษฐกิจสีเขียว
– ส่งเสริมใช้รถสาธารณะ
– สวนสาธารณะทั่วประเทศ
– เข้มงวดเรื่องผังเมือง
– ลดไอเสียจากการผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพ
– ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า EV
– แก้ไขปัญหาการจราจร
– หันมาใช้พลังงานทดแทน
– แก้ไขเทศบัญญัติและมาตรการก่อสร้างให้ชัดเจน
– พันธบัตรป่าไม้
– เพิ่มพื้นที่ป่า
– ห้ามรถควันดำวิ่งในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะรถขนส่งสาธารณะ และรถบรรทุก
– ขนถ่ายสินค้านอกเมือง
– เข้มงวดตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี
– ทำฝนหลวงล้างฝุ่นพิษ
– ยกเลิกเก็บภาษีหน้ากาก N95
– แจกหน้ากาก N95 ให้คนที่นั่งรถเมล์ร้อน คนขับวิน ไรเดอร์
– ใช้มาตรการ Work&Learn from Home
– เปลี่ยนรถสาธารณะ รถมอเตอร์ไซค์ เป็น EV
– ส่งเสริมภาคการเกษตรเข้าถึงเครื่องมือเพื่อกำจัดเศษซากวัชพืช ลดการเผา
ขณะที่ทางกรีนพีซ ประเทศไทย มีข้อเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อม ในประเด็น PM 2.5 ต่อพรรคการเมืองผู้กำหนดนโยบาย และรัฐบาลไทย ในการเลือกตั้งปี 2566 ดังนี้
– ผลักดันให้เกิดเครื่องมือทางกฎหมาย (ร่าง) พ.ร.บ.การรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ. …(PRTR), กฎหมายกำหนดค่ามาตรฐานการปลดปล่อย PM 2.5 จากแหล่งกำเนิดมลพิษหลัก (Emission standard), กฎหมายว่าด้วยการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่คำนึงถึงความสามารถในการรองรับของมลพิษในพื้นที่และผลกระทบข้ามพรมแดน, กฎหมายกำหนด ‘ระยะแนวกันชน’ ระหว่างแหล่งกำเนิดมลพิษกับแหล่งชุมชน
– นำหลักเศรษฐศาสตร์เข้ามาใช้เพื่อจัดการปัญหามลพิษ เช่น มาตรการภาษีสิ่งแวดล้อม
– เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองอย่างน้อย 9 ตารางเมตรต่อคน
– ผลักดันนโยบายกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น-จังหวัด เช่น สนับสนุนให้จังหวัดทั่วประเทศเป็น ‘เมืองปลอดฝุ่น’
– ประกาศนำร่องพื้นที่ทดสอบนวัตกรรมสร้างสรรค์ หรือ sandbox เป็นเขตพื้นที่ปลอดฝุ่น
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 มี.ค. 66)
Tags: PM2.5, ZoomIn, ฝุ่น PM2.5, พรรคการเมือง, พรรคก้าวไกล, พรรคชาติพัฒนากล้า, พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคพลังประชารัฐ, พรรคภูมิใจไทย, พรรคเพื่อไทย, พรรคไทยสร้างไทย