STEC ลุ้นครึ่งปีหลังงานรัฐทะลักหวังกวาดงานกว่า 3 หมื่นลบ.เติม Backlog พลิกฟื้นทะลุแสนล้าน

นายเศรณี ชาญวีรกูล ที่ปรึกษา บมจ.ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งหลังปี 2567 จะเป็นโอกาสที่ดีของบริษัทฯเนื่องจากคาดว่างานก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐจะออกมากขึ้นโดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ที่จะเริ่มมีการเปิดประมูลซึ่งบริษัทฯจะเข้าร่วมประมูลแน่นอน

ทั้งนี้มีเป้าหมายของบริษัทต้องการรักษาระดับงานในมือ(Backlog) ให้อยู่ที่กว่า 1 แสนล้านบาทโดยสิ้นไตรมาส1ปี2567บริษัทฯมี Backlogประมาณ 9 หมื่นล้านบาทโดยเป็นงานเอกชนประมาณ 60%งานภาครัฐประมาณ40%และคาดหวังว่าจะประมูลงานใหม่เข้ามาเติมกว่า 3 หมื่นล้านบาท

“ในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่อดีต รมว.คมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถูกคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ทำให้งานรับเหมาภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมที่มีมูลค่ามากต้องระงับไปด้วย”

สำหรับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก)สัญญาที่1ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติและสัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าซึ่งบริษัทฯได้ร่วมในนามกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-พีแอลในสัดส่วน 45%ส่วนบมจ.ช.การช่าง(CK)สัดส่วน 55%เป็นความร่วมมือในการทำงานและเรียนรูเทคโนโลยีวิศวกรรมร่วมกันและหวังว่าจะเป็นโฮกาสในการต่อยอดในการทำงานร่วมกันต่อไป

สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกซึ่งบริษัทฯเป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนของบริษัทอู่ตะเภาอินเตอร์เนชั่นแนลเอวิเอชั่นจำกัด(UTA)สัดส่วนที่ 20%ซึ่งโครงการยังไม่ได้เริ่มงาน(NTP)ซึ่งนอกจากงานอาคารผู้โดยสารแล้วยังมีเนื้องานส่วนอื่นที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ก่อนและจะสร้างรายได้เข้ามาและเมื่อได้รับ NTPงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารจะเข้ามาเติมเป็นสองเด้ง

หากได้เข้าพื้นที่ทำงานเห็นว่าเงื่อนไขต่างๆอาจจะเปลี่ยนแปลงได้เช่นปริมาณผู้โดยสารที่คาดการณ์ว่าจะมีอยู่ที่ประมาณ5ล้านคนต่อไปตอนนั้นอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้เพราะปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภามีผู้โดยสารแค่4แสนคน/ปีเท่านั้นซึ่งอาจต้องมีการเจรจาเรื่องผ่อนปรนผลตอบแทนกับฝ่ายรัฐให้สอดคล้องกับสถานการณ์

นอกจากนี้กรณีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเกิดความล่าช้าตรงนี้ก็ไม่ได้มีความกังวลอะไรมากนักเพราะในพื้นที่โครงการยังมีอีกหลายกิจการโดยเฉพะพื้นที่ Airport City ที่สามารถจัดอีเว้นต์ที่ช่วยกระตุ้นให้คนเกิดการเดินทางเข้ามาสู่พื้นที่สนามบินได้และเชื่อว่าจะมีรายได้กลับเข้ามาจากการลงทุนโครงการแน่นอน

สำหรับการปรับโครงการบริษัทเป็นโฮลดิ้ง ใช้ชื่อ บมจ.สเตคอนกรุ๊ป โฮลดิ้ง นั้น ช่วงเริ่มต้นธุรกิจในส่วนงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการขนส่งยังถือเป็นรายได้หลักและจะมีธุรกิจใหม่ที่เข้ามาเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงโดยตั้งเป้าหมายใน 5 ปีต่อไปจะมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจก่อสร้างที่ 60% ธุรกิจอื่นๆ 40%

ทั้งนี้ธุรกิจก่อสร้างมีรายได้มากก็จริงแต่มีกำไรน้อยกว่าธุรกิจใหม่ที่จะมีส่วนกำไรที่สูงซึ่งในการการดำเนินงานและจัดการกระแสเงินสดโฮลดิ้งจะแยกกระเป๋าของ 2 ธุรกิจนี้จากกันเพื่อให้มีความมั่นคงทางการเงิน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 เม.ย. 67)

Tags: , , , ,