RECOM Technologies เปิดตัวแผงเซลล์สุริยะซีรีส์ Black Tiger ที่มีกำลังไฟฟ้าด้านออกที่ 430Wp และสูงสุด 610Wp ซึ่งใช้เทคโนโลยีเซลล์ N-Type ที่กำหนดมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเพื่อประสิทธิภาพที่ระดับ 23.6%
แผงเซลล์สุริยะ “Black Tiger” ใช้เทคโนโลยีเซลล์ N-Type ร่วมกับวิธีการเชื่อมต่อส่วนท้ายที่เรียกว่า BackContact ผลที่ได้คือ ความสูญเสียจากเงาหน้าแผงจึงอยู่ที่ 0% ซึ่งเพิ่มผลการผลิตไฟฟ้าให้กับแผงเซลล์สุริยะ แผงเซลล์สุริยะใช้พื้นที่ของเซลล์ได้อย่างเต็มที่จากการลดการทอดเงาบริเวณหน้าแผง จึงช่วยให้ได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่รวดเร็ว แผงเซลล์สุริยะรุ่นนี้มีให้เลือกทั้งแบบ Monofacial, Bifacial Single Glass และ Bifacial Double Glass ทั้งยังมาพร้อมกับการรับประกันผลิตภัณฑ์ 25 ปีและการรับประกัน 30 ปีว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจะไม่น้อยกว่า 88.85% ของกำลังไฟฟ้าด้านออกที่กำหนด
สำหรับคุณสมบัติและประโยชน์ของแผงเซลล์สุริยะRECOM Black Tigerคือ การรับรองการผลิตไฟฟ้าสูงสุด ช่วยให้ลูกค้าได้ใช้ศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การออกแบบและวิศวกรรมขั้นสูงเป็นผลมาจากความทนทานที่ดีขึ้น ทำให้แผงเซลล์สุริยะทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จึงรับรองความน่าเชื่อถือที่ยาวนาน
นอกจากนี้ แผงเซลล์สุริยะ Black Tiger ยังมีรูปทรงที่สวยงามเพิ่มความสง่างามให้กับพื้นที่ติดตั้ง ผนวกเข้ากับบ้านที่พักอาศัยและอาคารพาณิชย์ได้อย่างกลมกลืน ด้วยการผสมผสานระหว่างประสิทธิภาพ ความทนทาน และความสวยงาม
ด้วยนวัตกรรมการออกแบบ แผงจึงไม่ต้องมีเส้นตารางอีกต่อไป ส่งผลให้ได้รูปลักษณ์สีดำล้วนดูเนี้ยบเฉียบคม เซลล์ทั้งหมดของแผงติดตั้งด้วยเซลล์แบบ back contact ทั้งหมดซึ่งยกระดับประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดอายุการใช้งานมากขึ้นถึง +13.4% เมื่อเทียบกับแผง P-type ทั่วไป นอกจากนี้ แผงเซลล์สุริยะ Black Tiger ยังมีข้อได้เปรียบที่สำคัญโดยลดความจำเป็นในการใช้อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ (Balance of System, BOS) มากกว่า 5% ดังนั้นจึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากสายไฟและระบบยึดต่าง ๆ
นอกจากนี้ แผงรุ่นนี้ยังมีจุดเด่นที่ตัวเลือกปราศจากแร่เงิน 100% จึงมั่นใจได้ในความน่าเชื่อถือของห่วงโซ่อุปทาน และแก้ไขข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับแผง N-type อื่น ๆ ด้วยการผสมผสานที่ลงตัวของนวัตกรรมการออกแบบ การผลิตไฟฟ้าที่เหนือชั้น ความคุ้มค่าใช้จ่าย และวัสดุที่ยั่งยืน
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 มิ.ย. 66)
Tags: RECOM Technologies, แผงเซลล์สุริยะ, โซลาร์เซลล์