กลายเป็นประเด็นติดเทรนด์จากกรณีค่าไฟช่วงหน้าร้อนแพงขึ้นมาก หลังเห็นบิลแจ้งค่าไฟฟ้า ทำให้ชาวเน็ตมีการออกมาโพสต์แชร์ประสบการณ์ค่าไฟแพง
DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้รวบรวมการกล่าวถึงเรื่องของค่าไฟในสื่อโซเซียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม ยูทูป และทวิตเตอร์ ในวันที่ 14-20 เม.ย.66 หลังกรมอุตุนิยมวิทยา คาดลักษณะอากาศหลายพื้นที่อุณหภูมิสูงขึ้น โดยพบว่ามีชาวเน็ตได้แห่เข้ามาโพสต์ ทวีต กันอย่างหนาแน่น โดยค่าปฏิสัมพันธ์ (Engagement) สูงถึงกว่า 501,904 ครั้ง เป็นชาย 45% และหญิง 55% แบ่งเป็น ช่องทางเฟซบุ๊ก 453,607 อินสตราแกรม 31,513 ทวิตเตอร์ 15,833
โดยชาวเน็ตต่างโพสต์ถึงค่าไฟแพงผิดปกติเหมือนๆ กัน ทั้งๆ ที่ค่า Ft ยังไม่ขึ้น และใช้ไฟไม่ต่างกัน แต่หน่วยใช้ไฟเพิ่มมาก บางบ้านค่าไฟปรับขึ้นกว่า 1-2 เท่า
ดังนั้น นโยบายพลังงานที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกตั้งปี 2566 ของประเทศไทยที่กำลังจะมาถึงนี้ ซึ่งพรรคการเมืองแต่ละพรรค ต่างมีการเสนอนโยบายด้านพลังงานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
วันนี้ ‘อินโฟเควสท์’ ได้นำนโยบาย 10 พรรคการเมือง มาเปรียบเทียบกันว่าจะมีนโยบายอย่างไร และจะทำได้สำเร็จหรือไม่ หากได้เข้ามาเป็นรัฐบาล
พรรคเพื่อไทย
– ปรับแก้โครงสร้างราคาพลังงานและลดราคาน้ำมัน ไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ได้ทันที
– ส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับครัวเรือน ลดการพึ่งพาน้ำมัน
– เร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อน เพื่อเพิ่มแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก และสามารถสร้างรายได้ให้ภาครัฐจากค่าภาคหลวง
– พัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องปริมาณไฟสำรอง
นโยบายน้ำมัน ประกอบด้วย
– กำกับค่าการกลั่น เกณฑ์มาตรฐาน 1 บาทต่อลิตร
– กำกับค่าการตลาด เกณฑ์มาตรฐาน 1.5 บาทต่อลิตร
– ทบทวนโครงสร้างราคาและภาษี ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรม
– ทบทวนเงินเข้ากองทุน และทบทวนการคำนวณต้นทุนน้ำมัน ที่อ้างอิงราคามันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน
นโยบายก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย
– เฉลี่ยต้นทุนระหว่างนำเข้ากับแหล่งในประเทศ ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
– ทบทวนค่าผ่านท่อที่เหมาะสมและเป็นธรรม
– ปฏิรูปสูตรคำนวณและวิธีการกำกับดูแลใหม่
– ทบทวนสัญญาระยะยาวที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรม
นโยบายไฟฟ้า ประกอบด้วย
– ปรับราคาก๊าซป้อนโรงงานไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรม
– กำหนดสัดส่วนกำลังการผลิตระหว่างรัฐและเอกชนให้เหมาะสม
– กำหนดระดับกำลังการผลิตสำรองที่เหมาะสม
– กำหนดสัดส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งราคาและรูปแบบสัญญา (PPA)
– ทบทวนความจำเป็นการมีค่า Ft ซึ่งหากยกเลิกค่า Ft ได้ ค่าไฟจะลดทันที 1 บาท
นโยบายก๊าซหุงต้ม ประกอบด้วย
– ตรวจสอบปริมาณการผลิตและใช้ในประเทศจริง
– ทบทวนสูตรคำนวณราคาให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรม
– แก้ปัญหาการลักลอบไปประเทศเพื่อนบ้าน
– ทบทวนสัญญาระยะยาวสำหรับกลุ่มปิโตรเคมี
– นโยบายปั๊มก๊าซ LNG/LPG จะมีการทบทวนค่าการตลาดให้เป็นธรรม และสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
โครงการพลังงานทดแทน ประกอบด้วย
– โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 1 ตำบล 1 โรงไฟฟ้า โครงการ 1 หมู่บ้าน/ชุมชน 1 โรงแก๊สชีวภาพ 1 ปุ๋ยชีวภาพ
– โครงการ 1 จังหวัด 1 โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนขนาดใหญ่
– โครงการ Green City รถโดยสาร/เรือโดยสาร ไฟฟ้า ในเมืองหลวงและเมืองหลัก
– ยุทธศาสตร์ระยะยาวอุตสาหกรรม EV
– โครงการปลูกป่าเศรษฐกิจ
– เปลี่ยนนโยบายจัดสรรก๊าซธรรมชาติ เห็นผลบิลค่าไฟ ลดได้ทันที 70 สต./หน่วยในปีแรก
– เร่งเจรจาสัมปทานก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนอ่าวไทย เพื่อลดพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้า
– เปลี่ยนแดดเป็นเงิน/หลังคาสร้างรายได้ ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน
– เปิดเสรีธุรกิจไฟฟ้า
– เจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและสัมปทานกับกลุ่มทุนพลังงานใหม่
– เพิ่มรายได้รัฐจากโรงแยกก๊าซ นำ LPG จากโรงแยกก๊าซ ที่จะขายให้โรงปิโตรเคมีโดยไม่ได้ให้ประชาชนใช้ ส่งเข้ากองทุนน้ำมัน/หรือเก็บภาษีปิโตรเคมี เพื่อเพิ่มรายได้รัฐในการดูแลประชาชน (เช่น ทำให้ LPG ถูกลง 2.5 บาท/กิโลกรัม)
– เปิดเผยข้อมูลราคาขายหน้าโรงกลั่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน
– ฟรีโซล่าเซลล์หลังคาบ้าน ลดค่าไฟฟ้าหลังคาเรือนละ 450 บาท
– รับสิทธิซื้อรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ราคา 6,000 บาท ผ่อนจ่ายเดือนละ 100 บาท เป็นเวลา 60 งวด
– ผลักดันลดค่าไฟฟ้าครัวเรือนเหลือ 2.50 บาท/หน่วย อุตสาหกรรม 2.70 บาท/หน่วย จากราคาไฟฟ้าปัจจุบันอยู่ที่ 4.77 บาท/หน่วย
– รื้อโครงสร้างเบนซิน และดีเซล โดยจะปรับลด 1 ปี นับตั้งแต่เป็นรัฐบาล
– ปรับโครงสร้างและรื้อราคาก๊าซหุงต้ม (ถังขนาด 15 กิโลกรัม) เหลือราคา 250 บาท
– ดันโครงการโซลาร์ประชารัฐ
– เพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียน
– แยกระบบสายส่งออกจากการไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนสามารถซื้อขายไฟฟ้าผ่านระบบสายส่งของรัฐ
– รื้อระบบโครงสร้างพลังงาน เพื่อให้มีค่าน้ำมัน และค่าไฟที่เป็นธรรม
– รื้อโครงสร้างไฟฟ้า เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ มีกองทุนให้ประชาชน สามารถติดตั้งโซลาร์ปลอดดอกเบี้ย
– จัตตั้งกองทุน Solar Fund สนับสนุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
– ขยายพื้นที่ป่าของประเทศไปเป็น 40% หรือ 26 ล้านไร่ของประเทศ ฟื้นฟูป่าไม้เศรษฐกิจกลับมาภายใน 5 ปี โดยออกพันธบัตรป่าไม้มูลค่า 65,000 ล้านบาท
– ปรับโครงสร้างค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส กำหนดเพดานค่าการกลั่นให้เป็นธรรม
– ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้า รื้อสัญญาทาส ค่าไฟต้องไม่เกิน 3.50 บาท
– ลดการใช้พลังงานที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาผลิตไฟฟ้า
– สนับสนุนให้ติดตั้ง Solar RooFTop หรือ Solar Cell บนพื้นที่ว่าง อย่างน้อย 5 KW จำนวน 2 ล้านครอบครัว
– นโยบายพลังงาน น้ำมัน ทวงคืน บมจ.ปตท.(PTT) ให้กลับมาเป็นของประชาชน ที่ไม่แสวงหากำไร, ยกเลิกการอ้างอิงราคาการนำเข้าจากสิงคโปร์ และยกเลิกการผสมเอทานอล เมื่อราคาเอทานอลสูงกว่าน้ำมัน
– นโยบายไฟฟ้า รื้อระบบสัญญาเอกชนกับการไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรม ปราบทุจริตเชิงนโยบาย, ควบรวมการไฟฟ้า 3 ฝ่าย และสร้างโซลาร์โรงไฟฟ้าชุมชน
– นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปแบบเสรีได้
– กำหนดราคาค่าไฟฟ้าให้กับผู้มีรายได้น้อย หรือเกษตรกร อยู่ที่ยูนิตละ 3.90 บาท
– ยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ใช้ในการเกษตร เพื่อลดต้นทุนให้เกษตรกร เหมือนน้ำมันเขียวของชาวประมง
– พลังงานสะอาดเพื่ออนาคต สำหรับครัวเรือนและชุมชน
– ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านสำหรับผลิตไฟฟ้าใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย และขายเข้าระบบเพื่อสร้างรายได้
– ส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลในชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และอุตสาหกรรม
– ผลักดันการขยายเขตไฟฟ้า ในภาคการเกษตร
– ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานธรรมชาติ
– ผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่ ขายคาร์บอนเครดิต
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 เม.ย. 66)
Tags: การเมือง, ค่าไฟ, ค่าไฟฟ้า, พรรคการเมือง, ราคาพลังงาน, หาเสียง, เลือกตั้ง