ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 17 เมษายน 2566 เวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 40-71 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ 51.2 มคก./ลบ.ม. แม้ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพบางพื้นที่
สำหรับพื้นที่ที่เกินค่ามาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 29 พื้นที่ คือ
1.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
2.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
3.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
4.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.
5.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
6.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
8.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
9.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
10.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
12.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
13.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
14.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
16.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
17.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
18.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
19.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
20.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
21.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
22.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
23.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
24.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
25.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
26.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
27.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
28.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
29.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
ทั้งนี้ มีข้อแนะนำในกรณีที่ค่า PM2.5 อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้
– สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
– ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์
ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 17 – 23 เมษายน 2566 สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงมีแนวโน้มที่ดีถึงปานกลาง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตาม วันที่ 17 เมษายน 2566 อาจมีสภาพอากาศที่ปิดได้ในบางพื้นที่ จึงควรเพิ่มการเฝ้าระวัง
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (17 เม.ย. 66)
Tags: กรุงเทพมหานคร, ฝุ่น PM2.5, ฝุ่นพิษ, ฝุ่นละออง