คนไทยจะเหลือแค่ 33 ล้านคน !! นั่นก็เท่ากับว่ากำลังจะหายไปครึ่งหนึ่ง และแม้ว่าตัวเลขนี้อาจได้เห็นในอีก 60 ปีข้างหน้าที่ดูยังค่อนข้างไกล แต่ผลกระทบจาก “วิกฤตเด็กเกิดน้อย” ใกล้เข้ามาแล้ว !!
ปี 64 เป็นปีแรกที่คนไทยอัตราการ “ตาย” มากกว่า “เกิด” หากยังปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป เมื่อประชากรลดลง กำลังซื้อก็จะลดฮวบ ในแต่ละอุตสาหกรรมก็จะขาดแคลนแรงงาน กระทบเศรษฐกิจอย่างหนักแน่นอน ขณะที่จำนวนเด็กที่ลดลงอย่างมาก ก็จะส่งผลต่อธุรกิจอย่างโรงเรียน/มหาวิทยาลัย ที่อาจต้องปิดตัวลงเช่นกัน
แต่หากมองในมุมของคนที่จะมีลูก ก็ไม่ง่ายในการเลี้ยงดูเด็กสักคนในยุคนี้ เพราะวัยแรงงานลำพังเลี้ยงตัวเองก็ยังลำบากในยุคนี้ แถมสวัสดิการเลี้ยงดูบุตรจากภาครัฐก็อาจไม่เพียงพอ หรือหากรอมีลูกเมื่อพร้อม ร่างกายก็เข้าสู่ภาวะมีบุตรยากไปแล้ว
“Talk Time” วันนี้จะมาพูดคุยกับศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อดีตอาจารย์วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมาเจาะลึกวิกฤตเด็กเกิดน้อย ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร จะสร้างอิมแพคที่รุนแรงแค่ไหน และที่สำคัญภาครัฐต้องแก้ยังไง คนไทยถึงจะอยากมีลูก !?
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 ธ.ค. 66)
Tags: INTERVIEW, SCOOP, Talktime, คนไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิกฤตเด็กเกิดน้อย, อัตราการเกิด, เกื้อ วงศ์บุญสิน