นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประกาศเดินหน้าขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การลงทุนในตลาด MUSIC NFT ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ท่ามกลางกระแส NFTสุดคึกคักทั่วโลก โดยจับมือกับ 4 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ ที่จะร่วมส่งเสริมตลาด MUSIC NFT ได้แก่
Bitkub โดยกลยุทธ์ในการวางสินค้าในแพลตฟอร์มนี้จะเป็นเรื่องของ Young Artist ที่มี Digital Mindset เป็นสินค้าที่มีความครีเอทีฟ และดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่
Coral กลยุทธ์ในการวางสินค้าในแพลตฟอร์มนี้คือ Mass Inventory Collection ที่จับต้องง่าย เป็นสินค้าของศิลปินที่เป็นขวัญใจมหาชน
East NFT กลยุทธ์ของแกรมมี่สำหรับแพลตฟอร์มนี้คือชิ้นงานที่เป็นประวัติศาสตร์ของศิลปินชื่อดังระดับตำนานที่จะมีเพียงชิ้นเดียวในโลก และสินค้าที่เป็น Rare Item
Zipmex กลยุทธ์การเดินเข้าในกลุ่มเป้าหมายของแพลตฟอร์มนี้จะเป็น Campaign Innovation การสร้างคอมมูนิตี้จัด Virtual fan meet และเน้นในเรื่องของการเป็น Global Connector ยกระดับ มาตรฐาน Digital Asset ของไทยให้ดึงดูดกลุ่มแฟนคลับทั่วโลก
“การเกิดขึ้นของ NFT กำลังจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั่วโลก ซึ่งนับเป็นโอกาสใหม่ ที่จะเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้จากการซื้อขายชิ้นงานที่ไร้ขอบเขต สามารถเข้าถึงได้ง่ายในโลกดิจิทัล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่รักและชื่นชอบศิลปินในอุตสาหกรรมเพลง ทางบริษัทฯได้ศึกษาเรื่อง MUSIC NFT มาเป็นระยะเวลาพอสมควร เนื่องด้วย GMM Grammy มี Hidden Asset ที่สอดคล้องกับ NFT ที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งบริษัทฯ ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะเปิดแพลตฟอร์ม แต่ต้องการที่จะสร้างตลาด MUSIC NFT ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศโดยเฉพาะ
วันนี้ที่บริษัทมีความพร้อมที่จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้แฟนเพลงสามารถเข้าถึงครอบครองลงทุนในคอลเลคชั่นพิเศษต่างๆของ GMM Grammy ซึ่งการมีพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งน่าจะเป็นตัวเร่งและส่งเสริมให้ตลาด MUSIC NFT ในประเทศไทยเป็นที่นิยมในวงกว้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นั่นเป็นเหตุผลที่เราจับมือร่วมกับ 4 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ อย่าง Bitkub, Coral, East NFT และ Zipmex โดยเราได้เลือกวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนและแตกต่างในแต่ละแพลตฟอร์ม
ทั้งนี้บริษัทยังพร้อมที่จะร่วมมือกับ Platform NFT เจ้าอื่นๆซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเจรจาข้อตกลงและจะทำการประกาศความร่วมมือในลำดับต่อไป” นายภาวิต กล่าว
สำหรับ MUSIC NFT ของ GMM Grammy จะถูกแบ่งออกเป็น 4 Tiers ในแต่ละแพลตฟอร์ม
1. Special Collection – สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนเพิ่งเริ่มต้นเข้ามาในโลกของ MUSIC NFT ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะเน้นความ Mass เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพง
2. Rare Collection – กลุ่มนี้จะเป็นสินค้าที่มีจำกัดและเป็น Unseen Item โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Limited Item และ Limited Movement
3. Epic Collection – กลุ่มสินค้าที่ไม่มีการผลิตซ้ำ เป็น Moment พิเศษ ที่เป็นตัวแทนของความทรงจำที่มีคุณค่า ให้แฟนๆ ได้เข้าถึงและสามารถครอบครองได้
4. Legendary Collection – เป็นสินค้าและผลงานของศิลปินระดับตำนานของประเทศที่มีเรื่องราวความเป็นมา มีความหายาก บางชิ้นนับเป็นประวัติศาสตร์ของวงการดนตรีที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ต้องการสร้างประวัติศาสตร์ในการบุกเบิกตลาด MUSIC NFT ในต้นปีหน้า ด้วยความพร้อมถึง 48 แคมเปญ เพื่อแฟนพันธุ์แท้ของศิลปิน หรือนักสะสมที่ชื่นชอบในชิ้นงานและอยากครอบครองเป็นเจ้าของ รวมทั้งนักลงทุนที่จะเข้าถึงและครอบครองความพิเศษในครั้งนี้
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 ธ.ค. 64)
Tags: GRAMMY, จีเอ็มเอ็ม มิวสิค, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, ภาวิต จิตรกร, แพลตฟอร์ม