ส่องมาตรการรับมือฝุ่น PM 2.5 กทม.!

กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดข้อมูลในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ ตั้งแต่การตรวจต้นตอฝุ่นและคุมเข้ม ป้องกันสุขภาพ แจ้งเตือนประชาชน และมีการเปิดคลินิกฝุ่น เพื่อให้บริการกับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยมีผู้เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

ควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่น

1. ประกาศพื้นที่ควบคุมฝุ่น

2. จับมือสู้ฝุ่นกับหลายหน่วยงานอย่างเข้มข้น

– จับและห้ามใช้รถควันดำ ตรวจสอบ 117,746 คัน ห้ามใช้ 1,556 คัน

– ตรวจสอบสถานประกอบการ/โรงงาน 1,052 แห่ง 6,081 ครั้ง สั่งแก้ไข 8 แห่ง

– ตรวจสอบแพลนท์ปูน 133 แห่ง 793 ครั้ง สั่งแก้ไข 17 แห่ง

– ตรวจสอบสถานที่ก่อสร้าง 676 แห่ง 1,598 ครั้ง สั่งแก้ไข 28 แห่ง

2. รณรงค์งดเผาตอซังและฟางข้าวในพื้นที่เกษตร แปรรูปเป็นฟางอัดแท่ง

3. ล้างถนนลดฝุ่น 50 เขต

พัฒนาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา

– ติดตามจุดฮอตสปอตการเผาในที่โล่งแบบเรียลไทม์ ด้วยข้อมูล GISDA

– ร่วมกับนักสืบฝุ่น นักวิจัย นักวิชาการ ค้นหาต้นตอกำเนิดฝุ่นในกรุงเทพฯ

ป้องกันและเฝ้าระวังสุขภาพ

1. เปิด 6 คลินิกมลพิษทางอากาศ ดูแลกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ได้แก่ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว โดยจะมีการขยายเวลาเปิดคลินิกมลพิษอากาศ เป็น 08.00-15.00 น. ทุกวันในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูง

รายชื่อคลินิกทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, โรงพยาบาลตากสิน, โรงพยาบาลสิรินธร, โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ

2. ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทุกวัน

3. รณรงค์ขอความร่วมมือทำงานที่บ้าน (Work from Home) ลดการเดินทาง

4. แจกหน้ากากอนามัยกลุ่มเปราะบาง

5. ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

เปิด 7 ช่องทางติดตามฝุ่น

1. LINE ALERT โดยร่วมมือ LINE ประเทศไทย เพิ่มเพื่อนด้วยการค้นหาไอดี @linealert

2. เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร หรือกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม

3. แอปพลิเคชัน AirBKK

4. เว็บไซต์ www.airbkk.com หรือ www.pr-bangkok.com

5. จอแสดงผล (Display Board)

6. การทดลองส่ง SMS แจ้งเตือน

7. Traffy Fondue รับแจ้งเบาะแส

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 มี.ค. 66)

Tags: , , , , , , ,