บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด บริษัทในกลุ่ม บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) ตั้งเป้าให้บริการผู้โดยสาร 23-24 ล้านคนในปี 2568 ด้วยอัตราการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) ที่ประมาณร้อยละ 90 จากปี 2567 มีผู้โดยสารทั้งสิ้น 20.8 ล้านคน ( คิดเป็นร้อยละ 94 ของระดับก่อนโควิด ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบปีก่อน มีอัตราการขนส่งผู้โดยสารแข็งแกร่งที่ร้อยละ 91 โดยสัดส่วนผู้โดยสารภายในประเทศต่อผู้โดยสารระหว่างประเทศอยู่ที่ร้อยละ 63 และร้อยละ 37 ตามลำดับ
ทั้งนี้ จากฝูงบินที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มค่าตั๋วโดยสารดังที่กล่าวไป บริษัทคาดว่ารายได้จากการขายและบริการจะเติบโตใกล้เคียงระดับร้อยละ 15 จากปีก่อน
นอกเหนือจากการเติบโตของรายได้ บริษัทให้ความสาคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการยกระดับประสบการณ์ลูกค้า โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มระดับความตรงต่อเวลา (On-Time Performance: OTP) ให้กลับมาอยู่ในที่ระดับร้อยละ 90 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สายการบินเคยทาได้อย่างโดดเด่น
นอกจากนี้ บริษัทมีเป้าหมายรักษาระดับอัตรากำไร EBITDA ในปี 2568 ให้อยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา เพื่อรักษาความสามารถในการทากาไร ด้วยแนวโน้มดังกล่าวบริษัทคาดว่ากระแสเงินสดและสถานะทางการเงินจะปรับตัวดีขึ้นได้ต่อเนื่อง
ในปี 2567 บริษัทสามารถกลับมามีกำไรจากการดำเนินงานหลักได้ โดย EBITDA ในปีนี้อยู่ที่ 10,170.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 จากปีก่อน หนุนด้วยผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ซึ่งคิดเป็นอัตรากำไร EBITDA ที่ร้อยละ 21 ในขณะที่กำไรสุทธิในปีนี้อยู่ที่ 3,477.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 647 จากปีก่อน
สายการบินไทยแอร์เอเชียเตรียมขยายฝูงบินเป็น 66 ลำ ซึ่งมากกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 โดยรับมอบเครื่องบินใหม่ 6 ลำ มีกำหนดรับมอบเครื่องบินลำแรกภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้เพื่อขยายการเติบโตทั้งตลาดภายในประเทศและระหว่างประเทศ
สำหรับตลาดภายในประเทศ สายการบินไทยแอร์เอเชียยังคง มุ่งรักษาความเป็นผู้นาและขยายเครือข่ายเส้นทางบินจากฐานปฏิบัติการหลัก โดยเฉพาะการเพิ่มเที่ยวบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตอกย้ำสถานะผู้นำจำนวนเส้นทางบินภายในประเทศที่มากที่สุด โดยคาดว่าปริมาณที่นั่งที่ให้บริการผู้โดยสารภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65 ของปริมาณที่นั่งที่ให้บริการทั้งหมดในปี 2568
สำหรับตลาดระหว่างประเทศ ททท.คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ล้านคน ในปี 2568 กลับสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด นำโดยนักท่องเที่ยวจีน มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ และรัสเซีย ทั้งนี้ สายการบินไทยแอร์เอเชียมีแผนจัดสรรปริมาณที่นั่งที่ให้บริการในเที่ยวบินระหว่างประเทศประมาณครึ่งหนึ่งไปยังกลุ่มอาเซียน ส่วนตลาดเอเชียใต้ คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็นร้อยละ 18 จากร้อยละ 14 ในปี 2567 ส่วนที่เหลือจะจัดสรรไปยังจีนและเอเชียตะวันออก
นอกจากนี้ สายการบินยังมีแผนศึกษาความเป็นไปได้ของเส้นทางบินใหม่ไปยังเกาหลีใต้ รวมถึงเส้นทางสิทธิเสรีภาพการบินที่ 5 (Fifth Freedom) จากฐานปฏิบัติการบินนานาชาติที่สาคัญ เช่น จากฮ่องกงและไต้หวัน
ส่วนต้นทุนอุตสาหกรรมการบินหลังโควิดเริ่มทรงตัวบนฐานใหม่ โดยต้นทุนส่วนใหญ่ในการดำเนินธุรกิจหลังโควิดเริ่มมีแนวโน้มทรงตัว อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในบางส่วนของห่วงโซ่อุปทานยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์การเดินทางที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมสนามบินระหว่างประเทศและค่าบริการภาคพื้นดินในจุดหมายปลายทางยอดนิยม ส่วนห่วงโซ่อุปทานด้านการซ่อมบารุงคาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถรองรับความต้องการจากสายการบินได้อย่างเต็มที่ส่งผลให้การเพิ่มจำนวนเครื่องบินในอุตสาหกรรมยังคงมีความท้าทาย จากปัจจัยข้างต้น บริษัทคาดว่าค่าโดยสารจะมีแนวโน้มทรงตัวหรืออาจปรับเพิ่มขึ้นได้ในอัตราเลขหลักเดียว
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 ก.พ. 68)
Tags: AAV, หุ้นไทย, เอเชีย เอวิเอชั่น, ไทยแอร์เอเชีย