All About ESG : ESG คืออะไรกันแน่ ??

“ESG” ย่อมาจาก Environmental, Social และ Governance คือแนวคิดที่สื่อถึงความยั่งยืนทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยในวงการของตลาดทุนมองว่าภาคธุรกิจจะยั่งยืนได้ต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างยาวนาน แต่ก็ใช่ว่าจะละเลยเรื่องกำไร เพราะกำไรก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทอยู่ได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

โดยสรุป ESG เป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคธุรกิจสามารถอยู่กับสิ่งแวดล้อม และสังคมได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลกำไรของบริษัทให้เติบโตต่อไปได้

ESG คือ ?

“ESG” คือแนวคิดที่สื่อถึงความยั่งยืน ย่อมาจาก Environmental, Social และ Governance เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยในวงการของตลาดทุนมองว่าภาคธุรกิจจะยั่งยืนได้ ต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างยาวนาน แต่ก็ใช่ว่าจะละเลยเรื่องกำไร เพราะกำไรก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทอยู่ได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

โดยสรุป ESG เป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคธุรกิจสามารถอยู่กับสิ่งแวดล้อม และสังคมได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลกำไรของบริษัทให้เติบโตต่อไปได้

ESG กับ CSR ต่างกันอย่างไร !?

หากเปรียบเทียบระหว่าง ESG และ CSR : Corporate Social Responsibility แม้ว่าทั้ง 2 คอนเซ็ปต์จะมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ การทำเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมของ ESG จะควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทด้วย จึงจะยั่งยืน

อาทิ ถ้าทำธุรกิจโรงพยาบาล อาจจะไม่ต้องทำเรื่องคาร์บอนก็ได้ แต่อาจจะทำเรื่อง Safety In The Workplace คือ พนักงานต้องมีความปลอดภัย คนไข้ต้องมีความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น อาจจะมีแล็ปตรวจ 24 ชั่วโมง แม้ต้นทุนอาจจะเพิ่มขึ้น แต่คนไข้ก็ไม่ต้องมานั่งรอนาน และคนไข้ก็มีความปลอดภัยมากขึ้น องค์กรมี Reputation ดีขึ้นนำไปสู่ความยั่งยืนในด้านธุรกิจ

ขณะที่ CSR คือ เมื่อบริษัททำกำไรได้แล้ว จะปันกำไรบางส่วนไปทำงานด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ไปบริจาค หรือปลูกป่า เป็นต้น แม้จะเป็นโปรเจ็คต์ที่เกิดประโยชน์ แต่ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร จึงอาจจะไม่มีความยั่งยืนเมื่อเทียบกับ ESG

ESG… ถ้าไม่ทำ คุณอาจโดนแบน !?

ESG ถือเป็นความคาดหวังของสังคมโลกที่อยากให้ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งกฎเกณฑ์ กฎระเบียบในการค้าขาย และการลงทุนระหว่างประเทศ เช่น ในอนาคตหากจะส่งสินค้าไปยังยุโรปก็ต้องเป็นสินค้าที่ Low Carbon ไม่เช่นนั้นจะถูกเก็บค่าธรรมเนียม Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) หรือกองทุนใหญ่ ๆ ของโลกหลายกองก็มีกองทุนที่ลงทุนเฉพาะในหุ้นยั่งยืน หรือหุ้นที่มี ESG Ratings สูงเท่านั้น

ดังนั้น ESG เป็นสิ่งที่บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องทำ ไม่เช่นนั้นสินค้าหรือบริการอาจถูกแบน ไม่สามารถส่งออกไปในตลาดเป้าหมายได้ และกองทุนที่ลงทุนในหุ้น ESG ก็จะไม่ลงทุนในบริษัท ดังนั้น ถ้าองค์กรสามารถทำเรื่อง ESG ได้ดี ก็จะเป็นการสร้างโอกาส พลิกเป็นจุดขายให้บริษัทได้เช่นกัน

บทบาทของตลาดหลักทรัพย์ “เราพร้อมช่วยเต็มที่” !!

บทบาทของตลาดหลักทรัพย์ คือพยายามช่วยให้บริษัทจดทะเบียนรับรู้และตระหนักรู้ก่อนว่า ESG เป็นเรื่องสำคัญ และเรื่องคาร์บอนก็เป็นเพียงแค่เรื่องเดียวใน ESG เท่านั้น ยังมีอีกหลายเรื่องที่กำลังจะตามมา อาทิ ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ สิทธิมนุษยชน เป็นต้น

โดยตลาดหลักทรัพย์พยายามจัด Workshop งานสัมมนา นำผู้มีความรู้จากต่างประเทศ หรือบริษัทในไทยที่ทำเรื่อง ESG แล้วประสบความสำเร็จระดับโลก มาแชร์ข้อมูลให้กับบริษัทอื่น ๆ

ขณะเดียวกัน ก็เตรียมเปิดตัวเครื่องคิดเลขคำนวณคาร์บอนในเดือน ม.ค. 68 นี้ เพื่อให้แต่ละบริษัทไม่ต้องลงทุนสร้างเครื่องคำนวณเอง และเมื่อกรอกข้อมูลลงไปแล้ว ข้อมูลก็จะเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูล ESG เพื่อส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือ การทำรายงานประจำปี เพื่อทำ ESG Ratings ดังนั้นการคีย์ข้อมูลตรงนี้ ก็ช่วยลดการทำงานซ้ำซ้อนลงได้

ESG ให้คะแนนยังไง… ปี 69 จ่ออัปเกรดแบบใหม่แบบสับ !?

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทำ ESG Ratings มาสักพักแล้ว แต่มีแผนจะอัปเกรดวิธีการทำให้เป็นมาตรฐานสากล โดยร่วมมือกับ Exchange ของลอนดอน ประเทศอังกฤษภายใต้แบรนด์ FTSE Russell ESG Scores

โดยการให้คะแนนแบบเดิมนั้น หากบริษัทไหนสนใจ ต้องการประเมิน ESG Ratings ก็สามารถ Walk-In เข้ามา และทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะให้คะแนนผ่านวิธีการสัมภาษณ์และกรอกแบบฟอร์มในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีบุคคลที่ 3 เข้ามาตรวจสอบ

จะเห็นได้ว่าวิธีดังกล่าวมีข้อเสียคือต้องใช้ Resource จำนวนมากในการสำรวจข้อมูล ทำให้ปัจจุบันบริษัทที่ได้รับการประเมิน ESG Ratings มีจำนวนไม่มากนัก ครอบคลุมเพียง 200 กว่าบริษัท จากทั้งหมด 800 กว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

ดังนั้น ในปี 69 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเริ่มใช้การให้คะแนนแบบใหม่เป็นแบบ FTSE โดยตั้งเป้าว่าจะประเมิน ESG Ratings ให้ครอบคลุมครึ่งหนึ่งของบริษัทจดทะเบียน หรืออย่างน้อย 400 บริษัทภายในปี 70-71 ซึ่งการให้คะแนนแบบ FTSE จะใช้ AI เข้ามาช่วยและจะประเมินบริษัทจากข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะอยู่แล้ว ทำให้ข้อมูลที่นำมาใช้มีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระให้แก่บริษัทเนื่องจากไม่ต้องตอบแบบประเมิน และบุคคลทั่วไปก็สามารถเข้าไปช่วยตรวจสอบข้อมูลของแต่ละบริษัทได้เองอีกด้วย

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15 ม.ค. 68)

Tags: , , , , , , , , , ,