CV ร่วง 11.11% ตลท.จี้เปิดข้อมูลงบ Q3/67 หนี้พอกสูงกว่าสินทรัพย์-ขาดทุนพุ่งพรวด-ตั้งด้อยค่าเงินมัดจำเพียบ

หุ้น CV ร่วง 11.11% ลดลง 0.03 บาท มาที่ 0.24 บาท มูลค่าซื้อขาย 3.48 ล้านบาท เมื่อเวลา 10.04 น. จากราคาเปิด 0.26 บาท ราคาสูงสุด 0.26บาท ราคาต่ำสุด 0.23 บาท

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขอให้ บมจ.โคลเวอร์ เพาเวอร์ (CV) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาส 3/67 โดยผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกลุ่มบริษัท เนื่องจากบริษัทมีขาดทุนสะสม มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน และงวด 9 เดือนปี 67 มีขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 289% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ บริษัทมีเงินกู้ระยะสั้นที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี ในจำนวนที่มีนัยสาคัญ ในขณะที่มีรายการเกี่ยวกับการด้อยค่าทางด้านสินทรัพย์หลายรายการ ซึ่งอาจกระทบฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน รวมทั้งสภาพคล่องของ CV อย่างมีนัยสำคัญ จึงขอให้ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ภายในวันที่ 18 ธ.ค.67 สำหรับความเห็นของคณะกรรมการและกรรมการตรวจสอบภายในวันที่ 25 ธ.ค.67

สรุปข้อมูลสำคัญในงบการเงินไตรมาส 3/67

1.ความสามารถในการชาระหนี้ของกลุ่มบริษัท โดยมีหนี้ที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี (54% ของหนี้สินรวม) จำนวน 1,533 ล้านบาท ซึ่งในงบระบุว่า 277 ล้านบาทครบกำหนดแล้วปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจา และ 449 ล้านบาทเป็นหุ้นกู้ครบกำหนดชำระในเดือน ม.ค.68

2. เงินจ่ายล่วงหน้าค่าเงินลงทุน รวม 427 ล้านบาท

2.1 เงินมัดจำการซื้อหุ้น Fernview Environmental Pty Ltd (Fernview) (ณ 30 ก.ย.67 บันทึกด้อยค่าเงินมัดจำ 14% ของมูลค่าเงินมัดจำ) จำนวน 237 ล้านบาท ซึ่งในงบระบุว่า

-26 พ.ค.66 ลงนามสัญญาซื้อหุ้นทั้งหมดของ Fernview กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 11 ล้านเหรียญออสเตรเลีย โดยจ่ายเงินมัดจำ 95%ของมูลค่าซื้อซึ่งขณะนั้น Fernview อยู่ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

– 16 ม.ค.67 คณะกรรมการมีมติอนุมัติยกเลิกการลงทุน

– 12 พ.ย.67 คณะกรรมการมีมติเรียกคืนเงินมัดจำภายใน 60 วันนับจากวันได้รับหนังสือ หากไม่ชำระจะดำเนินการทางกฎหมาย

2.2 เงินมัดจำการซื้อหุ้นของบริษัท เวสท์เทค เอ็กซ์โพเนนเซียล จากัด (WTX) (ณ 30 ก.ย.67 บันทึกด้อยค่าเงินมัดจำ

17% ของมูลค่าเงินมัดจำ) จำนวน 180 ล้านบาท ในงบระบุว่า

– 4 ต.ค.66 ลงนามสัญญาซื้อหุ้น WTX 20% จากบุคคลที่ไม่เกี่ยวโยงกันมูลค่า 1,040 ล้านบาท โดยจ่ายเงินมัดจำ 17% ของมูลค่าซื้อ

– 16 ม.ค.67 คณะกรรมการมีมติอนุมัติยกเลิกการลงทุน

– 27 พ.ย.67 คณะกรรมการอนุมัติให้ดำเนินการตามกฎหมาย

2.3 เงินมัดจำเพื่อซื้อหุ้นบริษัทแห่งหนึ่ง (ณ 30 ก.ย.67 บันทึกด้อยค่าเงินมัดจำทั้งจำนวน) จำนวน 10 ล้านบาท ในงบระบุว่า 15 ก.ค.65 บริษัทย่อยลงนามบันทึกข้อตกลงซื้อหุ้นกับบุคคลหนึ่ง 22 ส.ค.66 บริษัทย่อยได้รับหนังสือแจ้งยกเลิกการเพิ่มทุนและอยู่ระหว่างเจรจาและดำเนินการทางกฎหมาย

3.ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

3.1 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของลูกหนี้การค้า จำนวน 181 ล้านบาท ในงบระบุว่างวด 9 เดือนปี 67 บริษัทบันทึกผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 181 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 94 ล้านบาท จากสิ้นปี 66 (108%)

3.2 ด้อยค่าสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา จำนวน 220 ล้านบาท ในงบระบุว่างวด 9 เดือนปี 67 กลุ่มบริษัทพิจารณาแผนธุรกิจของส่วนงานผู้ขายเครื่องจักรและให้บริการวิศวกรรมก่อสร้างและรับรู้ค่าเผื่อการด้อยค่าจากรายได้ที่ยังไม่เรียกเก็บ 220 ล้านบาท จากเดิมไม่มีการตั้งค่าเผื่อดังกล่าว

โดย ตลท.ขอให้ CV ชี้แจงข้อมูลดังนี้

1. ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ผิดนัดชำระ 277 ล้านบาท ผลกระทบต่อการดำรงเงื่อนไขหรือภาระหนี้อื่นๆ

2. การติดตามเงินมัดจำคืน นโยบายการตั้งด้อยค่าเงินมัดจำ และการตั้งด้อยค่าเงินมัดจำครบถ้วนแล้วหรือไม่ อย่างไร

3. ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการด้อยค่าสินทรัพย์สำหรับงวด 9 เดือนปี 67 ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

4. ตามที่คณะกรรมการบริษัทได้เคยชี้แจงนโยบายการลงทุนของบริษัทว่าได้เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนในอนาคตมากขึ้น เนื่องจากในงบการเงินประจำปี 66 มีรายการด้อยค่าสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนภายใน 2 ปีนับจากวันที่ลงทุน แต่งบการเงินไตรมาส 3/67 ได้ปรากฏรายการในลักษณะดังกล่าวอีก 3 รายการ (การตั้งด้อยค่าเงินมัดจำ) จึงขอทราบความเห็นคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบถึง ความเหมาะสมเพียงพอของนโยบายที่เคยกำหนดไว้ รวมถึงนโยบายในการจ่ายเงินมัดจำและการเรียกเงินมัดจำคืน การดำเนินการทั้ง 3 รายการเป็นไปตามนโยบายที่กาหนดไว้หรือไม่ อย่างไร

– นโยบายที่กำหนดไว้ต้องมีการปรับปรุงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรายการเช่นเดียวกันในอนาคตหรือไม่ อย่างไร

– มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงในการเรียกเก็บหนี้จากลูกค้า และความเหมาะสมของนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของบริษัท

– ผลกระทบต่อฐานะการเงิน สภาพคล่อง และการดาเนินงานของบริษัท และแผนการปรับปรุงสภาพคล่องของบริษัท รวมถึงแผนชำระหนี้ระยะสั้นภายใน 1 ปี

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 ธ.ค. 67)

Tags: , ,