เงินบาทเปิด 36.21 กลับมาอ่อนค่า รับดอลลาร์แข็งค่ากดดัน จับตาเงินไหลออก

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.21 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงหนักจากปิดวันก่อนที่ระดับ 35.97 บาท/ดอลลาร์

โดยตั้งแต่คืนที่ผ่านมา เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่ได้แรงหนุนจากภาวะปิดรับ ความเสี่ยง (Risk-Off) ของตลาดการเงินโดยรวม

ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินบาทที่ผันผวนอ่อนค่า ทะลุโซนแนวต้านที่เราประเมินไว้นั้น สะท้อนว่าโมเมนตัมฝั่งอ่อนค่า ได้กลับมาอีกครั้ง และเงินบาทอาจเกิดรูปแบบการกลับตัว จากแข็งค่าเป็นอ่อนค่าลงในระยะสั้น

“หากบรรยากาศในตลาดการเงิน ยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ก็เป็นไปได้ว่า เงินบาทก็อาจถูกกดดันจากทั้งการแข็งค่าขึ้น ของเงินดอลลาร์ และความเสี่ยงที่ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจไหลออกจากตลาดทุนไทย โดยเฉพาะตลาดหุ้นได้บ้าง” นายพูน ระบุ

นอกจากนี้ ประเมินว่า ในระยะสั้น ราคาทองคำอาจเข้าสู่ช่วงการพักฐานจนกว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ ๆ เพิ่มเติม ซึ่งอาจ ยิ่งกดดันเงินบาทผ่านโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวได้

นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 36.10-36.30 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 157.23 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 156.44/45 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0891 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0928/0932 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.962 บาท/ดอลลาร์

– “พิชัย” มอง “ไอเอ็มเอฟ” ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจาก 2.7% เป็น 2.9% เป็นข่าวดี ลุยดันงบ67 ตามขั้น ตอน “เคเคพี” ชี้หากไทยไม่ปรับโครงสร้าง อาจโตต่ำกว่า 2% “ซีไอเอ็มบีไทย” คาด 10 ปี ไม่ทำอะไรเสี่ยงติดกับรายได้ปานกลาง

– รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาอาหารสด ปรับตัว ขึ้น 2.6% ในเดือนมิ.ย.67 เนื่องจากราคาพลังงานและอาหารสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อครัวเรือน ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าเป้า หมายที่ 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) นับตั้งแต่เดือนเม.ย.65

– ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ ตามการคาดการณ์ของตลาด โดยการตรึงอัตรา ดอกเบี้ยของ ECB ส่งผลให้เงินยูโรอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 243,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.2566 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 229,000 ราย

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 157.29 เยน จากระดับ 156.10 เยนในวันพุธ นอกจากนี้ ดอลลาร์ ยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8871 ฟรังก์ จากระดับ 0.8836 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3711 ดอลลาร์แคนา จากระดับ 1.3690 ดอลลาร์แคนาดา

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (18 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดัน ตลาด

– ซิตี้กรุ๊ปคาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,700-3,000 ดอลลาร์ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า ไม่ว่า ใครจะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือนพ.ย.นี้ นอกจากนี้ ราคาทองคำได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ในเดือนก.ย. รวมทั้งปัจจัยบวกจากมุมมองที่ว่า ทองคำ “เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย”

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19 ก.ค. 67)

Tags: , ,