นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.41 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.48 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่า ตามการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่ได้ส่งสัญญาณ พร้อมทยอยลดดอกเบี้ยลงต่อเนื่องตามที่ตลาดคาด แม้ว่าในการประชุมครั้งนี้ ECB จะลดดอกเบี้ยลง -25bps ก็ตาม จึงหนุนให้เงินยูโร พลิกกลับมาแข็งค่า และกดดันให้เงินดอลลาร์ย่อตัวลง
โดยไฮไลท์สำคัญวันนี้ จะอยู่ที่รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในเดือนพ.ค. ทั้งยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม, อัตราการว่างงาน และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติอาจยังไม่รีบกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยในช่วงนี้ จนกว่าตลาดจะมั่นใจในแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด หรือความ วุ่นวายของการเมืองในไทย จะคลี่คลายลงมากขึ้น จึงทำให้เงินบาทช่วงนี้เสี่ยงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้ หากนักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะ ขายสุทธิสินทรัพย์ไทยในช่วงนี้
นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 36.35-36.55 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 155.71 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 155.92/95 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0895 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0878/0881 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.489 บาท/ดอลลาร์
– กระทรวงพาณิชย์ จะรายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือนพ.ค.67 ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า จะขยายตัว 1.5% เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่เงินเฟ้อล่าสุดในเดือนเม.ย. ขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.19% (YoY) โดยพลิกกลับมาเป็นบวกได้ครั้งแรก หลังจากติดลบต่อเนื่องมา 6 เดือน
– รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า เตรียมหารือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงคมนาคม ต่าง ประเทศ สาธารณสุข การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อทบทวนแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วง 6 เดือนสุดท้ายของปีนี้ ให้ สามารถดึงดูดเม็ดเงินได้อีก 5 แสนล้านบาท และสร้างรายได้โดยรวม 3.5 ล้านล้านบาท ตามเป้าหมายที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายก รัฐมนตรี ประกาศไว้ ก่อนนำโครงการเสนอของบกลาง นำมากระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวทั้งด้านของคนไทยเที่ยวไทย หรือต่างประเทศ เที่ยวไทย ในช่วงที่เหลือแต่ของปี
– ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวานนี้ (6 มิ.ย.) ตามการคาดการณ์ของตลาด โดย เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2562
– ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า มติในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เมื่อวานนี้ (6 มิ.ย.) มีสาเหตุ จากการปรับตัวลงอย่างมากของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการคาดการณ์ของ ECB – ประธาน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนีกล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของธนาคารกลาง ยุโรป (ECB) จะไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ โดยอาจจะต้องรอไปอีกเป็นเวลานานหลังจากนี้
– สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 229,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูง กว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 220,000 ราย ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐอ่อนแรงลง และอาจเปิดทางให้เฟด เริ่ม พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) นำร่องปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วเมื่อวานนี้
– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (6 มิ. ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพฤหัสบดี (6 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุล เงินดอลลาร์ และข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของตลาดแรงงานสหรัฐ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย
– มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเตือนว่า ธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐอย่างน้อย 6 แห่งที่ปล่อยกู้ให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ เชิงพาณิชย์ (Commercial Real Estate) มีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
– กระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนพ.ค.ในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาด การณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. และคาดว่า อัตราว่างงานเดือนพ.ค.จะทรงตัวที่ระดับ 3.9%
– FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 68% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. ขณะที่ผลสำรวจของแอลเอสอีจี (LSEG)
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 มิ.ย. 67)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท