ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “OK ไหม กับ นายกฯ สรุปเอง เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบทสรุปของนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงคุณสมบัติการได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า
- 79.85% ระบุว่า มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์
- 11.68% ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์หรือไม่
- 8.47% ระบุว่า ไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์
เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่าไม่แน่ใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์หรือไม่ และไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ (จำนวน 264 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความรู้สึกที่จะไม่ได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เนื่องจากคุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์ พบว่า
- 68.18% ระบุว่า ไม่โกรธเลย
- 11.36% ระบุว่า ไม่ค่อยโกรธ
- 8.71% ระบุว่า ค่อนข้างโกรธ
- 7.58% ระบุว่า โกรธมาก
- 4.17% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ต้องเป็นคนไทยไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่ถึง 7 หมื่นบาทต่อเดือน และ/หรือมีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันต่ำกว่า 5 แสนบาท พบว่า
- 40.53% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- 25.80% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- 20.31% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- 12.67% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- 0.69% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อเงื่อนไขการใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยสามารถใช้ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคได้เท่านั้น พบว่า
- 34.66% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- 28.47% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- 20.69% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- 16.03% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- 0.15% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อแหล่งที่มาของงบประมาณในการจัดทำนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่รัฐบาลจะออกพระราชบัญญัติ กู้เงิน 500,000 ล้านบาท และงบประมาณประจำปีอีก 100,000 ล้านบาท พบว่า
- 50.69% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- 18.70% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- 14.89% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- 13.35% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- 2.37% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน พบว่า
- 29.92% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- 25.97% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- 25.11% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- 18.24% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- 0.76% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาความคิดเห็นต่อนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จำแนกตามคุณสมบัติการได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า
1. ตัวอย่างที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์
- 29.73% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- 26.48% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- 24.38% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- 18.84% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- 0.57% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
2. ตัวอย่างที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์หรือไม่
- 41.83% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- 25.49% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- 16.34% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- 14.38% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- 1.96% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
3. ตัวอย่างที่ไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์
- 65.77% ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- 15.32% ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- 11.71% ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- 6.30% ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- 0.90% ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19 พ.ย. 66)
Tags: ดิจิทัลวอลเล็ต, นิด้าโพล