ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชาชนเชื่อมั่นตำรวจแค่ไหน?” จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความเชื่อมั่นต่อตำรวจในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่และโปร่งใส
1.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และไม่เลือกปฏิบัติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 27.48 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 24.05 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 10.30 ระบุว่าเชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
1.2 เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ไม่คล้อยตามอิทธิพลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 9.69 ระบุว่าเชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
2. ด้านการให้บริการและอำนวยความสะดวก
2.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี เช่น ช่วยเคลื่อนย้าย หรือซ่อมแซมรถเสีย นำผู้ป่วย ผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.78 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.77 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 11.30 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
2.2 เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถควบคุมการจราจรให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.93 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 26.34 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 12.82 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
2.3 สถานีตำรวจให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดีรวมถึงสามารถให้ความช่วยเหลือแนะนำทั้งด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.87 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมาร้อยละ 25.72 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 20.76 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 14.05 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
2.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีบริการแจ้งความคืบหน้าในคดีแก่ผู้เสียหายภายในระยะเวลาที่เหมาะสม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.08 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 22.83 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 4.96 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
3. ด้านความสามารถในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
3.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการปฏิบัติงานและดำเนินคดี พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.57 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 26.41 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 20.00 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 12.21 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 4.81 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
3.2 ระบบในการรับแจ้งเหตุ และการตอบสนองของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือประชาชน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.36 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.39 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.48 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 16.03 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 3.74 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
3.3 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงทางคดีและจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.72 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 30.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 15.80 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 14.73 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 2.37 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
3.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าระงับเหตุการณ์อาชญากรรมได้ทันท่วงที พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.91 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 31.75 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 22.37 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 12.90 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
3.5 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถป้องกันและปราบปรามแหล่งอบายมุขหรือสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่ เช่น บ่อนการพนัน แหล่งมั่วสุม และยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.95 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 32.98 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 20.00 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 10.61 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
4. ด้านการบริหารงานองค์กร
4.1 องค์กรตำรวจมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.77 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 30.46 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 23.89 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 13.28 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
4.2 องค์กรตำรวจปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.33 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 8.55 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 2.52 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
4.3 ระบบการแต่งตั้งโยกย้ายในองค์กรตำรวจมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 29.47 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.79 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 8.01 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 3.36 ระบุว่าไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ
ทั้งนี่ นิด้าโพลทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 2-5 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อตำรวจในด้านต่าง ๆ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (08 ต.ค. 66)
Tags: ตำรวจ, นิด้าโพล, ผลสำรวจ