นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.95 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 36.03 บาท/ดอลลาร์ ตลาดยังรอปัจจัยชี้นำใหม่ ดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบแคบเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลักๆ
สำหรับปัจจัยที่ต้องจับตา คือ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย ช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งผลการ ประชุมครั้งนี้ยังก้ำกึ่งว่า จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือคงดอกเบี้ย ส่วนสกุลเงินในภูมิภาคเช้านี้เคลื่อนไหวในกรอบแคบ มีทั้งแข็งค่าและอ่อน ค่า
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.85 – 36.10 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.35 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 148.32 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0647 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0637 เยน/ดอลลาร์
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.169 บาท/ดอลลาร์
– เริ่มวันแรก 25 กันยายน 2566 มาตรการ “วีซ่าฟรี” ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนและคาซัคสถาน เพื่อกระตุ้นภาคการท่อง เที่ยว
– “เศรษฐา” เผยรัฐบาลมีแนวคิดขยายกรอบการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณตามมาตรา 28 เป็น 45% จาก 32% ของวง เงินงบประมาณในปี 67 เพื่อสนับสนุนการดูแลประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และจะกลับไปอัตราเดิม ภายในปี 2570 ขณะที่มีการ คาดกันว่าจะทำให้รัฐมีงบเพิ่มขึ้นอีกราว 4 แสนล้านบาท ที่จะนำไปใช้ในโครงการดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท
– “รัฐบาล” กล่อมเอกชนขึ้นค่าแรง เร่งไตรภาคีสรุป 2 แนวทางขึ้น 46-72 บาท ดัน 400 บาททั่วประเทศ หรือนำร่อง บางจังหวัด ชง ครม.เคาะ พ.ย.นี้ มีผลปีใหม่ “นายจ้าง” ชี้กระทบโครงสร้างค่าแรงทั้งระบบ ขยับใกล้แรงงานมีฝีมือและค่าแรงตาม คุณวุฒิวิชาชีพ “พิพัฒน์” ชี้ปรับขึ้น 400 บาทอิงตามเงินเฟ้อ จ่ายตามทักษะ ด้านนักวิชาการมองรายได้ธุรกิจเพิ่มขึ้น 3.7% ต่อปี สวนค่าแรง เพิ่ม 12.7% แนะ 4 ประเด็นหลักต้องทบทวน
– นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงราคาบ้านเดือนก.ค. จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิ ลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย. จาก Conference Board, ยอดขายบ้านใหม่เดือนส.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนส. ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2566 (ขั้นสุดท้าย), ยอดทำ สัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนส.ค. และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือน ส.ค.
– นักลงทุนจับตาดัชนี PCE เดือนส.ค. อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดย ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวง กว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 ก.ย. 66)
Tags: ค่าเงินบาท, เงินบาท