สหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก (FISU) จัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 31 ที่เมืองเฉิงตู โดยงานเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา และสร้างความประทับใจให้กับนักกีฬามหาวิทยาลัยจากทั่วทุกมุมโลกกับพิธีเปิดที่ผสานองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเข้ากับไฟของวัยหนุ่มสาว รวมทั้งเอกลักษณ์ของเฉิงตู ซึ่งมี “ดวงอาทิตย์และนกอมตะ” (Sun and Immortal Birds) เป็นสัญลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมและเครื่องหมายทางจิตวิญญาณ
ไช่ ชานหวง หัวหน้าผู้ออกแบบการแสดงดอกไม้ไฟได้ตั้งชื่อการแสดงว่า “ความฝันสีทอง” (Golden Dreams) โดยดอกไม้ไฟสีทองอร่ามได้พุ่งทะยานสู่ท้องฟ้าพร้อมข้อความต้อนรับทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ เมื่อหอคอยคบเพลิงถูกจุดขึ้น ดอกไม้ไฟได้แสดงสัญลักษณ์รูปตัว U ของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกและธีมภาษาอังกฤษ “Make Dreams Come True” พร้อมภาพดอกชบาสีทองซึ่งเป็นดอกไม้ประจำนครเฉิงตู อันเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนเยาว์และความมีชีวิตชีวา รวมถึงค่านิยมของการเปิดกว้างและมิตรภาพภายใต้ธีม “ดอกไม้ต้อนรับแขก”
โดย “แสงอาทิตย์” ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักได้ส่องประกายไปทั่วพิธีเปิดงาน หากปราศจาก “ดวงอาทิตย์และนกอมตะ” แล้ว การจุดคบเพลิงยิ่งใหญ่อลังการได้ถึงเพียงนี้ เพราะ “ดวงอาทิตย์และนกอมตะ” ไม่เพียงสะท้อนถึงจิตวิญญาณแห่งความกลมกลืนและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ชาวจีนยึดถือมาแต่โบราณกาล แต่ยังเป็นการอวยพรให้นักศึกษามหาวิทยาลัยจากทั่วโลกเปล่งประกายสดใสราวแสงแดดที่อบอุ่น
พิธีเปิดงานได้ผสมผสานเทคโนโลยีทันสมัยเข้ากับความงดงามของศิลปะ โดยในระหว่างที่ทัพนักกีฬาเดินขบวนเข้าสู่สนาม ได้มีการฉายภาพเส้นไหมหลากสีสันลงบนลู่วิ่ง วาดลวดลายจีนโบราณที่น่าทึ่งด้วยเส้นวงแหวนกว่า 300 เส้น เพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของนักกีฬาเยาวชนจากทั่วโลกที่เริ่มการเดินทางบนลู่วิ่งที่เต็มไปด้วยลวดลายของงานปักผ้าไหมเสฉวน (Shu embroidery) อันวิจิตรงดงาม
ขณะเดียวกัน เผู้ถือป้ายนำทัพนักกีฬาได้ชูป้ายเพื่อแสดงให้เห็นป้ายที่ทำจากผ้าไหมเสฉวน (Shu brocade) ซึ่งเป็นสิ่งทอขึ้นชื่อที่มีต้นกำเนิดในเฉิงตูเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว และเป็นหนึ่งในสี่ชนิดผ้าอันทรงคุณค่าของจีน ขณะที่งานปักผ้าไหมเสฉวนซึ่งเป็นหนึ่งในสี่งานปักผ้าขึ้นชื่อของจีนที่มีประวัติยาวนานกว่า 3,000 ปี ก็มีต้นกำเนิดในเฉิงตูเช่นกัน ทั้งงานปักผ้าไหมเสฉวนและผ้าไหมเสฉวนต่างได้รับการยกย่องว่าเป็นสมบัติล้ำค่าของภูมิภาค
ทั้งนี้ ได้มีการคัดเลือกผู้ถือคบเพลิง 31 คน หนึ่งในนั้นคือ เย่ กวางฟู่ นักบินอวกาศชาวเฉิงตูผู้โด่งดัง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 31 จึง โดยเฉิน เว่ยหยา หัวหน้าผู้กำกับการแสดงในพิธีเปิด มองว่านักบินอวกาศคือ “ผู้ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด” และได้เปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นเปลวไฟที่โชติช่วงในพิธีเปิดครั้งนี้ โดยหลังจากที่ผู้ถือคบเพลิง 31 คนร่วมกันจุดไฟแล้ว ดวงอาทิตย์และนกอมตะก็ส่องประกายสว่างไสวสวยงาม ก่อนจะหมุนวนขึ้นไปด้านบน จากนั้นดอกไม้ไฟสีทอง 12 ลูกได้พุ่งทะยานสู่ท้องฟ้า และเปลวไฟรอบสนามกีฬาก็สว่างไสวขึ้น
การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 31 ที่เฉิงตู จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม โดยมีนักกีฬาราว 6,500 คน จาก 113 ประเทศและภูมิภาค เข้าร่วมการแข่งขันกีฬารวมทั้งสิ้น 18 ประเภท
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 ก.ค. 66)
Tags: FISU, เฉิงตู, แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก