บมจ.ฟอร์ท อีเอ็มเอส (FEMS) ในเครือ บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น (FORTH) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชน (IPO) จำนวน 320 ล้านหุ้น คิดเป็น 28.57% ของจำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดหลัง IPO มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) โดยมี บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร APM กล่าวว่า FEMS จะจัดสรรหุ้น IPO ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ FORTH ในฐานะบริษัทแม่ (Pre-emptive Offering)
วัตถุประสงค์ระดมทุนเพื่อเสริมเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆรองรับการขยายธุรกิจนวัตกรรมในอนาคต และขยายกำลังการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการเติบโต อาทิ การลงทุนเครื่องจักรใหม่ การขยายพื้นที่โรงงานและคลังสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสและสามารถตอบโจทย์การผลิตสินค้านวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง สนับสนุนความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น และช่วยให้บริษัทมีการพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้มีความยั่งยืนและเติบโตในระยะยาว
ทั้งนี้ FEMS ระบุในไฟลิ่งว่าจะมีการลงทุนในอาคารและการปรับปรุงที่ดินราว 200 ล้านบาท และการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ราว 400 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะใช้เป็นงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
FEMS ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้านวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Manufacturing Services หรือ EMS) ให้กับลูกค้าภาคอุตสาหกรรมที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Box-Build) และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board Assembly : PCBA) ทั้งในรูปแบบของการรับเหมาผลิต (Turn Key) และรูปแบบรับจ้างประกอบ (Consign Part)
ตัวอย่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่บริษัททำการผลิต อาทิ ตู้ “เต่าบิน”โรโบติกบาริสต้า ตู้อัตโนมัติ (Vending Machine) ที่ชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV-Charger) ตลอดจนอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมการแปลงกระแสไฟฟ้า (inverter) ของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและยานยนต์ อุปกรณ์ควบคุมรถเข็นคนไข้ (Power Wheelchair) ของกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น
ปัจจุบัน บริษัทมีสำนักงานและโรงงาน 2 แห่งใน จ.นครปฐม โดยแห่งที่ 1 เป็นโรงงานประกอบและยึดสินค้า (Surface Mount Technology: SMT) แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCBA) จำนวนสายการผลิต SMT ทั้งหมด 14 สาย ด้วยระบบผลิตแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Fully Automated) โดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น และแห่งที่ 2 เป็นโรงงานผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Box-Build) เป็นการนำชุดแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มาผลิตเป็นสินค้าและชิ้นส่วนสำหรับสินค้านวัตกรรมทางเทคโนโลยี
โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่มี FORTH ถือหุ้น 699,999,380 หุ้น คิดเป็น 87.50% หลัง IPO จะลดสัดส่วนเหลือ 62.50% นายพิชัย ดวงทวีทรัพย์ 26,600,020 หุ้น คิดเป็น 3.33% จะลดเหลือ 2.37%
ผลประกอบการช่วงปี 63-65 มีรายได้จากการขายและบริการ 801.77 ล้านบาท 1,995.20 ล้านบาท และ 4,540.51 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 0.04 ล้านบาท 150.17 ล้านบาท และ 366.20 ล้านบาท ขณะที่งวดไตรมาส 1/66 มีรายได้1,173.05 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 70.09 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปี 65 มีรายได้ 851.61 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 55.01 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลจากเงินกำไรสุทธิ หลังจากหักทุนสำรองต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยบริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิหลังจากหักทุนสำรองต่างๆและขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) ตามงบการเงินเฉพาะกิจการ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร APM กล่าวว่า FEMS จะจัดสรรหุ้น IPO ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ FORTH ในฐานะบริษัทแม่ (Pre-emptive Offering)
วัตถุประสงค์ระดมทุนเพื่อเสริมเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆรองรับการขยายธุรกิจนวัตกรรมในอนาคต และขยายกำลังการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการเติบโต อาทิ การลงทุนเครื่องจักรใหม่ การขยายพื้นที่โรงงานและคลังสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสและสามารถตอบโจทย์การผลิตสินค้านวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง สนับสนุนความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น และช่วยให้บริษัทมีการพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้มีความยั่งยืนและเติบโตในระยะยาว
ทั้งนี้ FEMS ระบุในไฟลิ่งว่าจะมีการลงทุนในอาคารและการปรับปรุงที่ดินราว 200 ล้านบาท และการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ราว 400 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะใช้เป็นงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
FEMS ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้านวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Manufacturing Services หรือ EMS) ให้กับลูกค้าภาคอุตสาหกรรมที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Box-Build) และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board Assembly : PCBA) ทั้งในรูปแบบของการรับเหมาผลิต (Turn Key) และรูปแบบรับจ้างประกอบ (Consign Part)
ตัวอย่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่บริษัททำการผลิต อาทิ ตู้ “เต่าบิน”โรโบติกบาริสต้า ตู้อัตโนมัติ (Vending Machine) ที่ชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV-Charger) ตลอดจนอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมการแปลงกระแสไฟฟ้า (inverter) ของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและยานยนต์ อุปกรณ์ควบคุมรถเข็นคนไข้ (Power Wheelchair) ของกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น
ปัจจุบัน บริษัทมีสำนักงานและโรงงาน 2 แห่งใน จ.นครปฐม โดยแห่งที่ 1 เป็นโรงงานประกอบและยึดสินค้า (Surface Mount Technology: SMT) แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCBA) จำนวนสายการผลิต SMT ทั้งหมด 14 สาย ด้วยระบบผลิตแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Fully Automated) โดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น และแห่งที่ 2 เป็นโรงงานผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Box-Build) เป็นการนำชุดแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มาผลิตเป็นสินค้าและชิ้นส่วนสำหรับสินค้านวัตกรรมทางเทคโนโลยี
โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่มี FORTH ถือหุ้น 699,999,380 หุ้น คิดเป็น 87.50% หลัง IPO จะลดสัดส่วนเหลือ 62.50% นายพิชัย ดวงทวีทรัพย์ 26,600,020 หุ้น คิดเป็น 3.33% จะลดเหลือ 2.37%
ผลประกอบการช่วงปี 63-65 มีรายได้จากการขายและบริการ 801.77 ล้านบาท 1,995.20 ล้านบาท และ 4,540.51 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 0.04 ล้านบาท 150.17 ล้านบาท และ 366.20 ล้านบาท ขณะที่งวดไตรมาส 1/66 มีรายได้1,173.05 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 70.09 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปี 65 มีรายได้ 851.61 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 55.01 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลจากเงินกำไรสุทธิ หลังจากหักทุนสำรองต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยบริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิหลังจากหักทุนสำรองต่างๆและขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) ตามงบการเงินเฉพาะกิจการ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 มิ.ย. 66)
Tags: FORTH, ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น, ฟอร์ท อีเอ็มเอส, สมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร