นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.35 บาท/ดอลลาร์
“เงินบาทเช้านี้ 36.45 บาท/ดอลลาร์ ถือเป็นระดับอ่อนค่าสุดตั้งแต่เดือนต.ค. 65 หรืออ่อนค่าในรอบ 11 เดือน” นัก บริหารเงิน ระบุ
เงินบาทอ่อนค่าตามสกุลเงินในภูมิภาค ตลาดยังกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะคงดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลา นาน ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า
สำหรับปัจจัยที่ต้องจับตาวันนี้ คือ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย รอลุ้นว่าจะคงดอกเบี้ย หรือปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.25 – 36.60 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.92 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 148.83 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0569 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0598 เยน/ดอลลาร์
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.341 บาท/ดอลลาร์
– นักเศรษฐศาสตร์เสียงแตก “กนง.” ขึ้น-คงดอกเบี้ย” “อีไอซี-ทีทีบี” คาดขึ้นต่อ รับมือเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว เงินเฟ้อมี โอกาสเร่งขึ้น และช่วยสกัดเงินไหลออก พยุงบาท ด้าน “ซีไอเอ็มบีไทย-เกียรตินาคินภัทร” คาด คงดอกเบี้ยก่อนขึ้นรอบใหม่ เหตุ เศรษฐกิจไทย เสี่ยงชะลอมากขึ้น
– ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผ่อนคลายเกณฑ์การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (non-resident) กับสถาบันการเงินในประเทศเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความคล่องตัว และลดภาระด้านเอกสารหลักฐานให้ผู้ประกอบการต่าง ประเทศที่มีการค้าการลงทุนกับประเทศไทย
– ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยว่า สำนักงบประมาณได้หารือกับกระทรวงการคลังถึงการจัดทำงบประมาณปี 67 โดยทางคลังเสนอจะจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายหนี้คืนตามมาตรา 28 เพิ่มขึ้น จากคำของบประมาณเดิม ที่ตั้งไว้ 8 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้นให้ไม่ น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในการทำโครงการเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีความต้องการในการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้หนี้เงินตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ที่รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจ่ายคืนให้กับหน่วย งานที่รัฐบาลขอกู้เงินมาใช้ก่อนหน้านี้ โดยวงเงินที่จะมาจ่ายหนี้ เพิ่มขึ้นมาจากกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในปีงบ 67 ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท
– ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ ระดับ 103.0 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 105.5 จากระดับ 108.7 ในเดือนส.ค. โดยได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ, การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้ง ความวิตกเกี่ยวกับการปิดหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ
– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ลดลง 8.7% สู่ระดับ 675,000 ยูนิตในเดือนส.ค. ต่ำกว่าที่นัก วิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 695,000 ยูนิต จากระดับ 739,000 ยูนิตในเดือนก.ค. โดยได้รับผลกระทบจากราคาบ้านในระดับสูง และ การดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง
– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (26 ก. ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และแนวโน้มที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตรา ดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันอังคาร (26 ก.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการ พุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาด
– นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบ คลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
– นักลงทุนติดตามการแสดงความเห็นของเจ้าหน้าที่เฟดอย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมถึงนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ที่จะ จัดการประชุมแบบทาวน์ฮอลล์ร่วมกับบรรดานักวิชาการในวันพฤหัสบดีที่ 28 ก.ย.นี้ และจะตอบคำถามจากผู้ที่เข้าร่วมการประชุม
– นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐจะถูกชัตดาวน์ในวันที่ 1 ต.ค. หากสภาคองเกรสยัง คงไม่มีความคืบหน้าในการผ่านร่างงบประมาณชั่วคราว และส่งต่อให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนามเป็นกฎหมายภายในวันที่ 30 ก.ย.
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (27 ก.ย. 66)
Tags: ขึ้นดอกเบี้ย, ค่าเงินบาท, เงินบาท