นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.25 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากปิดตลาดวานนี้ที่ระดับ 36.07 บาท/ดอลลาร์
เมื่อคืนที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนหนัก (แกว่งตัวในช่วง 35.86-36.23 บาท/ดอลลาร์) โดยมีจังหวะทยอยแข็งค่า ขึ้นตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นทดสอบโซนแนวต้านสำคัญของราคาทองคำ ในช่วงก่อนรับรู้ผลการประชุมคณะ กรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ก่อนที่เงินบาทจะพลิกกลับมาอ่อนค่าลงต่อเนื่อง หลังจากทั้งเงิน ดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อ จากการที่เฟดยังคงส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง และคงอัตรา ดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท อาจอ่อนค่าไปได้มากกว่าที่เคยประเมินไว้ และอาจอยู่ในโซนอ่อนค่าได้นานกว่าคาด ตามทิศ ทางเงินดอลลาร์ที่ยังคงได้แรงหนุนจากแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้นกว่าคาดของเฟด
นอกจากนี้ เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันจากโฟลว์ขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ หลังบรรยากาศในตลาดการเงินโดย รวม เสี่ยงที่จะยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) และนักลงทุนต่างชาติอาจยังไม่รีบกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยในระยะสั้นนี้
การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ทะลุทุกโซนแนวต้านที่เราประเมินไว้ ทำให้มีโอกาสที่เงินบาทอาจอ่อนค่าต่อทดสอบ โซน 36.50 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งในโซนดังกล่าว ไปจนถึงช่วง 37 บาท/ดอลลาร์ ถือว่าค่าเงินบาท “Undervalued” หรือ ถูกพอสมควร ทำให้มีโอกาสที่เงินบาทอาจเริ่มแกว่งตัว sideways หรือพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ หากปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่าเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.15-36.50 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 148.33 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 147.98 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0638 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0694 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.199 บาท/ดอลลาร์
– บอนด์ยีลด์ไทย 10 ปีขึ้นแรง แตะ 3.2% สูงสุดในรอบปี “สมาคมตราสารหนี้” ชี้บอนด์ยีลด์ขึ้น มาจากความกังวลนักลงทุน หลังคาดบอนด์ล้นตลาด ส่งผลเทขายบอนด์สะพัด “กรุงไทย” หวั่นต้นทุน ภาครัฐพุ่ง หากกู้เงินผ่านการออกบอนด์ ชี้เงินบาทอ่อนค่าแรง สวน ทางเพื่อนบ้าน
– อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรในปีงบประมาณ 66 (ต.ค.65-15 ก.ย.66) จัดเก็บ ได้ 114,475 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8,975 ล้านบาท และคาดเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 66 จะจัดเก็บรายได้ 118,000 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 6 ปี สูงกว่าเป้าหมาย 12,500 ล้านบาทเทียบกับประมาณการเอกสารงบประมาณที่ 105,500 ล้านบาท
– คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี โดยการคงอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้
– เฟดปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐสู่ระดับ 2.1% ในปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 1.0% และคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่ระดับ 3.3% ภายในสิ้นปีนี้, แตะระดับ 2.5% ภายในสิ้นปี 2567 และแตะระดับ 2.2% ภายในสิ้นปี 2568 โดย เฟดคาดว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% ในปี 2569 ซึ่งช้ากว่าที่เจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
– ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงิน โดยระบุว่า การที่เฟดจะสามารถ บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ได้นั้น อาจต้องใช้เวลาอีกนาน แม้จะมีสัญญาณบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมาก็ ตาม
– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (20 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด แต่ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อ ยังคงอยู่ในระดับสูง
– ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดขายบ้านมือสองเดือนส.ค., ดัชนีชี้ นำเศรษฐกิจเดือนส.ค.จาก Conference Board ส่วนในวันพรุ่งนี้จะมีการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือน ก.ย. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล
– ตลาดรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในวันนี้ โดยนักลงทุนให้น้ำหนัก 55% ที่ BoE จะคงอัตรา ดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% หลังจากอังกฤษเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวสู่ ระดับ 6.7% ในเดือนส.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 7.0%
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ก.ย. 66)
Tags: ค่าเงินบาท, เงินบาท