เงินบาทเปิด 36.10 แนวโน้มผันผวนทิศทางอ่อนค่า จับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากปิดวันก่อนที่ระดับ 36.15 บาท/ดอลลาร์

แนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทยังคงมีอยู่ แม้อาจจะแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่เงินบาทยังขาด ปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่าที่ชัดเจน ทำให้ยังเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 36.20-36.30 บาท/ดอลลาร์ ในระยะสั้นได้ไม่ยาก

โดยเฉพาะในกรณีที่เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น หรือตลาดการเงินกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง กดดันให้นักลงทุนต่าง ชาติทยอยขายหุ้นไทยเพิ่มเติม

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ อาทิ ยอดค้าปลีก, ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่าง งาน รวมถึงดัชนีภาคการผลิตของบรรดาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการประเมินแนวโน้มนโยบายการ เงินของบรรดาผู้เล่นในตลาดได้

“หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังออกมาดีกว่าคาด จะยิ่งทำให้ตลาดกลับมามองว่า สุดท้ายเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ตาม Dot Plot จริง ส่งผลให้ทั้งเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจปรับตัวขึ้นต่อได้ กดดันราคาทองคำ และเงินบาท” นายพูน ระบุ

นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 36.00-36.20 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ สหรัฐฯ และประเมินกรอบในช่วง 35.90-36.30 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงทยอยรับรู้ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ

ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.31 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 150.62 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0726 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0698 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 36.096 บาท/ดอลลาร์
  • จับตา “เงินบาทอ่อนค่า” ต่อเนื่อง ล่าสุดเฉียด 6% อ่อนค่าเกือบสูงสุดในภูมิภาค หลังตัวเลข เงินเฟ้อสหรัฐสูงเกินคาด หนุน “ดอลลาร์แข็งค่า” ตลาดประเมินโอกาสเฟดลดดอกเบี้ยอาจช้ากว่าคาด สวนทาง ดอกเบี้ยไทยอาจลดเร็ว “กรุงไทย” ชี้แนวโน้มบาท อ่อนแตะ 37 บาทต่อดอลล์ “ซีไอเอ็มบีไทย” เล็งเงินบาทผันผวนหนัก สัปดาห์หน้า จากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ สภาพัฒน์ ตอกย้ำ เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ “เกียรตินาคินภัทร” หวั่นจีดีพี ไตรมาสแรกทรุดต่อส่งสัญญาณ “Stagnation”
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาผนึกสาธารณสุข อัดงบกลาง 50 ล้านบาท ชดเชยนักท่องเที่ยวต่างชาติตาย-เจ็บ ยืนยันไม่ เลิกนโยบายเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน
  • นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เปิดเผยหลังหารือรมว.พาณิชย์ ได้ขอให้ช่วยสนับสนุนการส่งออกอุตสาหกรรมยาน ยนต์ไทยไปต่างประเทศ โดยเฉพาะเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกหลายฉบับ โดยขอให้วาง เงื่อนไขช่วยส่งเสริมการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม
  • “คลัง” นัด 4 หน่วยงาน ถกแนวเก็บภาษี สินค้าต่ำกว่า 1,500 บาท หวังแก้ปัญหาสินค้าจีนทะลัก สร้างความเป็นธรรมแก่ ผู้ประกอบการไทย ชี้ 2 แนวทาง เก็บแวตสินค้านำเข้าทุกรายการ หรือลดมูลค่าสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษี เล็งใช้เทคโนโลยีป้องกันสินค้า เลี่ยงภาษี “กูรูอีคอมเมิร์ซ” ประเมินไทยขาดดุลดิจิทัลปีละ 2 แสนล้านบาทต่อปี แนะรัฐดูต้นแบบอินโดฯดึงกฎหมายคุมเข้ม
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (14 ก.พ.) โดยดอลลาร์ปรับตัวลงหลังจากที่แข็งค่าอย่างมากในวันอังคาร ภายหลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาดและทำให้ ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากอังกฤษเปิดเผยเงินเฟ้อชะลอตัวลง
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (14 ก.พ.) โดยนักลงทุนเทขายทองคำอย่างต่อเนื่อง หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนี ราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงกว่าคาดและส่งผลให้เกิดความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็น เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • เมื่อคืนนี้ บิตคอยน์พุ่งขึ้น 5.08% สู่ระดับ 51,950.75 ดอลลาร์ ใกล้ทะลุระดับ 52,000 ดอลลาร์ หรือราว 1,880,000 บาท ทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ในการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Coinbase โดยบิตคอยน์พุ่งขึ้นมากกว่า 21% นับตั้งแต่ต้นปี 2567 ส่งผลให้มูลค่าตลาดของบิตคอยน์ทั้งหมดพุ่งทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เดือนธ.ค.64 โดยได้แรงหนุนจากคาด การณ์ปรากฏการณ์ Bitcoin Halving ในปีนี้ รวมทั้งการที่สหรัฐให้การอนุมัติการจัดตั้งกองทุน Spot Bitcoin ETF
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยในวันนี้สหรัฐจะเปิดเผย จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนม.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.พ.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. และดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.พ.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15 ก.พ. 67)

Tags: , , ,