นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.55 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.09 บาท/ดอลลาร์
เช้านี้เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก หลังดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก เนื่องจากบอนด์ยีลด์ ปรับตัวลดลง หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือนต.ค. ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ตลาดมั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะ ยุติการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ และยังมีแนวโน้มที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลงเร็วขึ้น เป็นช่วงไตรมาส 2/67
“บาทแข็งค่าลงมามากถึง 50 สตางค์ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่า หลังตัวเลขเงินเฟ้อฯ ออกมาต่ำกว่าคาด และบอนด์ ยิลด์ปรับตัวลดลง ทำให้คาดการณ์กันว่าเฟดจะยุติการปรับขึ้นดอกเบี้ย อีกทั้งมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยเร็วขึ้นด้วย เงินบาทวันนี้ น่า จะแกว่งตัวในทิศทางแข็งค่า”
นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.45 – 35.70 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 150.75 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 151.68 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0864 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0713 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.083 บาท/ ดอลลาร์
– คลังเคาะตั้งกองทุน ESG ภายในสิ้นปีนี้ เล็งประเดิมดูดเงินลงทุนหมื่นล้าน-จูงใจหักลดหย่อนภาษีได้แสนบาท ยันไม่ ใช่กองทุนพยุงหุ้น คาดเสนอ ครม.พิจารณาสัปดาห์หน้า
– รัฐบาลส่ง พ.ร.บ.เงินกู้ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแล้ว “รองนายกฯ ภูมิธรรม” มั่นใจพรรคร่วมไม่มีปัญหา ด้านนายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” แจงไม่ได้หารือกับกฤษฎีกา หวั่นถูกคนมองล็อบบี้ ยันเงินดิจิทัลวอลเล็ต มีความจำเป็นเร่ง ด่วน และต้องแก้วิกฤต
– “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์” รมช.คลัง คาดประชาชนได้ใช้ “ดิจิทัลวอลเล็ต” เร็วสุด พ.ค.67 ถ้าไม่มีอุปสรรค “หมอ มิ้ง” ยัน พ.ร.บ.กู้เงิน ไม่ขัดกฎหมาย ซัดพวกค้าน คิดแบบคนแพ้ ขณะที่ “ก้าวไกล” เตือนรัฐบาล ระวังสะดุดขาตัวเอง แนะคิด แผนสำรองไว้ด้วย
– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (14 พ.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยุติ วงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
– กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 3.2% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.7% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เพิ่มขึ้น 4.0% ต่ำ กว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 4.1% FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนี CPI ประจำเดือนต.ค. นักลงทุนใหh น้ำหนัก 100% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนธ.ค. 2566 และเดือนม.ค. 2567
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันอังคาร (14 พ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ รวมทั้ง ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยุติวงจรการ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
– GDP ญี่ปุ่นในไตรมาส 3/66 (ก.ค.-ก.ย.) หดตัว 2.1% เมื่อเทียบรายปี และหดตัว 0.5% เมื่อเทียบรายไตร มาส สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน
– ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐที่เปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต. ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนพ.ย. จากเฟดนิวยอร์ก, สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ เดือนก.ย. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15 พ.ย. 66)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท