นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.10 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าจากปิดตลาดช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.17 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทแข็งค่าเทียบท้ายตลาด เนื่องจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (7 ก.ค.) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน
“มองว่าบาทจะแข็งค่าในระดับที่จำกัด เพราะถึงแม้ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ จะออกมาต่ำกว่าคาด แต่ตัวเลขค่าจ้าง ยังถือว่าแข็งแกร่งอยู่” นักบริหารเงิน กล่าว
สำหรับปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ คือ ความคืบหน้าทางการเมืองไทย ที่จะมีการโหวตเลือกนายก รัฐมนตรีในวันที่ 13 ก.ค.นี้
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.00 – 35.30 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 142.62 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 143.09 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0960 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0887 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.248 บาท/ ดอลลาร์
– กระทรวงการคลัง ประเมินงบประมาณปี 67 ล่าช้า 6 เดือน กระทบงบลงทุนโค้งสุดท้ายปีนี้ และไตรมาสแรกปี หน้า ลดลงรวม 1.4 แสนล้านบาท ขณะที่จีดีพี ปี 66 อาจกระทบเพียง 0.05% เชื่อการเบิกจ่ายปี 67 จะใกล้เคียงเป้าหมาย
– จับตา 13 ก.ค.66 นัดหมายโหวตเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” คนที่ 30 ของประเทศไทย ภายหลัง ผ่าน การเลือกตั้ง 14 พ.ค.66 มา 2 เดือนเต็ม
– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (7 ก. ค.) หลังจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐที่อ่อนแอเกินคาด ฉุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีลดลง
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (7 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานสหรัฐที่ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด
– กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 225,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.6% สอดคล้องกับตัวเลขคาด การณ์ของนักวิเคราะห์ ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 4.4% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.2%
– ราคาบิตคอยน์ร่วงลงกว่า 100 ดอลลาร์ในช่วงเช้านี้ ซึ่งเป็นการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่าน มา เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้นักลงทุนลดการลงทุนใน สินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงบิตคอยน์
– นักวิเคราะห์จาก Academy Securities คาดการณ์ว่า เฟดจะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้มีการเปิด เผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากตัวเลขค่าจ้างในเดือนมิ.ย. ยังคงบ่งชี้เงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้น
– สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ทรงตัวใน เดือนมิ.ย.เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งอ่อนแอกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากที่ปรับ ตัวขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ค.
– นักลงทุนในตลาดการเงิน จับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันพุธที่ 12 ก.ค.กระทรวง แรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมิ.ย. และจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนมิ.ย. ในวันพฤหัสบดีที่ 13 ก.ค.
– คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของจีน (CSRC) ประกาศลดค่าธรรมเนียมการจัดการ (management fees) และค่าธรรมเนียมการรับฝากสินทรัพย์ (custodian fee) ของกองทุนรวมหุ้น (stock mutual fund) ลงสู่ระดับ 1.2% และ 0.2% ตามลำดับ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 ก.ค. 66)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท