นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.35 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วันศุกร์ที่ระดับ 34.18 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทอ่อนค่าเทียบท้ายตลาด เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค เนื่องจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดอลลาร์แข็งค่าเทียบทุกสกุล เงิน จาก Flow สิ้นไตรมาส 1/66 ประกอบกับวานนี้มีข่าวว่าโอเปกพลัส จะปรับลดการผลิตน้ำมัน ทำให้ตลาดกังวลเรื่องเงินเฟ้อ จากราคาน้ำมันที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต
นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.15 – 34.40 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตามคืน นี้ คือ ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
THAI BAHT FIX 3M (31 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.61335% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.83329%
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.08 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 133.48 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0806 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0890 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 34.095 บาท/ดอลลาร์
– “ฟิทช์” คาดการณ์ปี 2566 แบงก์ไทยผลงานฟื้นตัว หลังตั้งสำรองหนี้สูญลด-สินเชื่อโตต่อเนื่อง ห่วงมาตรการอุ้มลูกหนี้ทยอย หมดอายุ กดดันคุณภาพสินทรัพย์ ด้าน “SCB EIC” ขยับคาดการณ์จีดีพีไทยแตะ 3.9% รับอานิสงส์ท่องเที่ยวและบริการฟื้นตัว – กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ เอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยว่า ภาพรวมภาคการส่งออกไทยปีนี้มีแนวโน้มติดลบสูง จากภาวะเศรษฐกิจโลกและกำลังซื้อของคู่ค้าที่ชะลอตัวค่อนข้างเร็วและแรงกว่าที่คาด แต่ ยังมีความหวังจากตลาดตะวันออกกลางและจีนที่กลับมาเปิดประเทศ แม้ส่งออกปีนี้จะติดลบ แต่ไม่กระทบธสน.เพราะมีสัดส่วนปล่อยกู้เพื่อการ ลงทุนต่างประเทศมากถึง 70% ขณะที่อีก 30% เป็นสินเชื่อเพื่อการค้า โดยการลงทุนในต่างแดนยังมีการขยายตัวดี จึงมั่นใจว่าปีนี้จะปล่อยกู้ ใหม่ได้ 20,000 ล้านบาท และมีสินเชื่อคงค้าง 1.75 แสนล้านบาท
– เศรษฐกิจโลกถดถอยฉุด “สตาร์ตอัพไทย” วิกฤติส่อปิดตัว เหตุขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุนทั้งจากบิ๊กคอร์ป และสถาบันการ เงิน ซ้ำร้ายบุคลากรไม่เพียงพอ ด้านนายกสมาคมฯแนะปรับมายด์เซ็ต มองไกล ระดับโลก ขณะที่ “บิทคับ” ชี้ เวนเจอร์แคปฯ หยุดเติม เงินจนกว่าเฟดจะหยุดขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อสหรัฐเหลือ 2%
– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 5.0% ในเดือนก. พ. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.1% และชะลอตัวจากระดับ 5.3% ในเดือนม.ค.
– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.พ. ต่ำกว่า ตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.3% หลังจากพุ่งขึ้น 2.0% ในเดือนม.ค. ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ. และอัตราการออมเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.6% จากระดับ 4.4% ในเดือนม.ค.
– ยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์สหรัฐทั้งหมดลดลงในสัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 22 มี.ค. สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. แต่ ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวกว่าในสัปดาห์ก่อนหน้า และยอดเงินฝากเริ่มมีเสถียรภาพสำหรับธนาคารขนาดเล็กซึ่งมีความเปราะบางต่อการแห่ ถอนเงินฝากหลังการล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB)
– กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ประกาศปรับลดการผลิตน้ำมันลงอีก 1.16 ล้าน บาร์เรล/วัน ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าการตัดสินใจดังกล่าวของโอเปกพลัสจะส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่ง ขึ้นอย่างรุนแรง และอาจสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลสหรัฐที่ต้องการให้โอเปกพลัสเพิ่มการผลิตน้ำมัน
– จับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) กาคการผลิตเดือนมี.ค. จาก เอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการ ค้าเดือนก.พ., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค. จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA), จำนวนผู้ขอ รับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (03 เม.ย. 66)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท