นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.15 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.24 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบค่าเงินสกุลหลัก ตลาด รอปัจจัยใหม่เข้ามาเพิ่มเติม โดยคืนนี้ตลาดรอดูการประกาศตัวเลขค่าใช้จ่ายผู้บริโภคของสหรัฐฯ
สำหรับปัจจัยในประเทศ ตลาดรอดูการประกาศตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากเกินดุล หลังมีนักท่องเที่ยวมากขึ้นจะหนุนให้บาทแข็งค่า ส่วนทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) จากผู้นำเข้าในช่วงสิ้นไตรมาสน่าจะมีปริมาณ ลดลง
“บาทแข็งค่าจากปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ตลาดทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่า บอนด์ยีลด์ทรงตัว วันนี้บาทน่าจะ แกว่งตัวในกรอบ”
นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.90 – 34.25 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (30 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.55857% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.79936%
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.45 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 132.55 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0909 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0869 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 34.278 บาท/ดอลลาร์
– กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.50% เป็น 1.75% ต่อปี ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ของกนง. ครั้งนี้ แสดงถึงความ ต้องการส่งผ่านการขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ระบบการเงิน เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายในช่วงกลางปีนี้ตามแผน ซึ่งการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย ของภาคธนาคารต้องพิจารณาถึงกลไกตลาด ควบคู่กับการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ที่ยังคงต้องเฝ้าดูและติดตาม สถานการณ์ต่อไป
– หอการค้าไทยเปิดเวทีให้เอกชนนำเสนอมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พร้อมจัดทำเป็นสมุดปกขาวยื่นให้ 10 พรรคการ เมืองนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาประเทศ
– คณะเจ้าหน้าที่การค้าจาก 11 ประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership -CPTPP) หรือ TPP ดั้งเดิม มีมติเห็นชอบในวันนี้ (31 มี.ค.) ให้อังกฤษเข้ามาเป็นสมาชิกประเทศที่ 12 ซึ่งถือเป็นพัฒนาการสำคัญที่จะขยายขอบเขตอิทธิพลของ CPTPP ไปยังยุโรป
– กระทรวงแรงงานสหรัฐ เผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 7,000 ราย สู่ระดับ 198,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 195,000 ราย
– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2565 ในวันนี้ โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.6% ในไตรมาสดังกล่าว ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งระบุว่ามี การขยายตัว 2.9% และ 2.7% ตามลำดับ
– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (30 มี. ค.) ตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ปรับตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วน บุคคล (PCE) ในวันนี้
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปีในวันพฤหัสบดี (30 มี.ค.) เนื่องจากการอ่อนค่าของ ดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนตลาดทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันนี้ โดยตัวเลขดังกล่าวจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
– ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญวันนี้ ได้แก่ รายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.พ. เวลา 19.30 น. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 มี.ค. 66)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท