เงินบาทเปิด 33.97 อ่อนค่าจากวานนี้เกาะกลุ่มภูมิภาค เกาะติดผลกระทบมาตรการภาษีทรัมป์

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.97 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดช่วงเย็นเมื่อวานนี้ที่ 33.92 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคและตลาดโลก ตลาดรอดูผลกระทบจากการ ประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีทรัมป์ในวันที่ 2 เม.ย.68

ขณะที่ความเชื่อมั่นของตลาดยังไม่กลับมาหลังเกิดผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ โดยเงินบาทไม่ได้เคลื่อนไหวตาม สถานการณ์ราคาทองในตลาดโลกเหมือนก่อนหน้านี้ ส่วนกระแสเงินทุนระหว่างประเทศในช่วงนี้ยังไม่มีความชัดเจนและต่อเนื่อง

“บาทอ่อนค่าจากเย็นวานนี้เกาะกลุ่มไปกับค่าเงินภูมิภาค ตลาดเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีความ ไม่แน่นอนสูง” นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.85 – 34.10 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.89 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ 149.09 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0820 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ 1.0844 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 33.913 บาท/ดอลลาร์
  • “ธปท.-ก.ล.ต.-ตลท.” ร่อนแถลงการณ์มั่นใจ! “แผ่นดินไหว” ในประเทศไทย ไม่กระทบเศรษฐกิจ ระบบการเงินเดิน หน้าต่อได้ปกติ
  • นายกฯ แพทองธาร เปิดศูนย์บริการ TIESC รองรับนักลงทุน พร้อมดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก มุ่งผลักดันไทยเป็นศูนย์ กลางนวัตกรรม สร้างเศรษฐกิจแห่งอนาคต
  • รมช.คลัง ยอมรับว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย แต่กระทบเพียงเล็กน้อย และในระยะสั้นเท่านั้น โดยหลังจากนี้ ทุกภาคส่วนต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นที่เป็นรูปธรรม ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมา หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ทำงานกันอย่างกระชับ และทันท่วงในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในมิติต่าง ๆ
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินเหตุแผ่นดินไหว 8.2 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่เมืองสะกาย เมียนมา ทำให้ประเทศไทยประสบ เหตุการณ์แผ่นดินไหวและแรงสั่นสะเทือนรุนแรงในหลายเมือง โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และ เชียงใหม่ ซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อ ชีวิต ทรัพย์สิน อันประเมินค่าไม่ได้ ในเบื้องต้นความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท หลัก ๆ มาจากการหยุด ชะงักหรือเลื่อนออกไปของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) กล่าวว่า ราคาทองคำปรับขึ้นมา อย่างต่อเนื่องจนทะลุเป้าหมายที่วายแอลจีให้ไว้ที่ 3,000-3,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ล่าสุดวายแอลจี จึงได้ปรับราคาเป้าหมาย ใหม่เป็น 3,150-3,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ หรือคิดเป็นราคาเป้าหมายทองคำแท่งไทยที่ 51,000-51,500 บาทต่อบาททองคำ (คำนวณจากค่าเงินบาท 34 บาทต่อดอลลาร์)
  • “สรวงศ์” ถกภาคเอกชน “ท่องเที่ยว” ติดตามผลกระทบแผ่นดินไหวหวั่นต่างชาติชะลอเดินทาง เดินหน้าฟื้นความเชื่อมั่น จี้ รัฐออกประกาศนียบัตรรับรองอาคารโรงแรม “ปลอดภัย” หลังผ่านการตรวจสอบ ด้านวิศวกรรม ปลุกความมั่นใจนักท่องเที่ยว พร้อมขอยก เลิกประกาศเขตภัยพิบัติ เพราะมีผลต่อประกันภัย นักท่องเที่ยว “สมาคมสายการบินไทย” เผยยอดจอง ตั๋วบินรายวันวูบ 40-60% “แอ ตต้า” ระบุตลาดกรุ๊ปทัวร์หาย 30% เตรียมจัดโรดโชว์จีน พ.ค.นี้ “ทีเอชเอ” ชี้คนหนีอาฟเตอร์ช็อก แห่พัก “พัทยา-กาญจน์หัวหิน” โรงแรมยอดเต็ม
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวัน จันทร์ (31 มี.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตามาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ และการกล่าวสุนทรพจน์ของเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคาร กลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ย
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันจันทร์ (31 มี.ค.) และเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อ กันวันที่ 3 เนื่องจากนักลงทุนยังคงเดินหน้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากร ของสหรัฐฯ
  • ปธน.ทรัมป์ประกาศว่า วันที่ 2 เม.ย.จะเป็นวันแห่งการปลดปล่อย (Liberation Day) ของสหรัฐฯ โดยรัฐบาล สหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% รวมทั้งเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (reciprocal tariff) ต่อทุกประเทศทั่วโลก ในวัน ดังกล่าว
  • นักลงทุนจับตาเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ซึ่งจะกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในการประชุม ประจำปีของ Society for Advancing Business Editing and Writing (SABEW) ที่เมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย วันศุกร์ที่ 4 เม.ย.
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุป ทานของสหรัฐฯ (ISM), ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.พ., ตัวเลขจ้างงานภาค เอกชนเดือนมี.ค.จาก ADP และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 เม.ย. 68)

Tags: , ,