เงินบาทเปิด 33.43 อ่อนค่าหลังดอลลาร์แข็งค่า กังวลเฟดเร่งลด QE-ขึ้นดบ.หลัง PPI พุ่ง

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.43 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.39 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโร หลังตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ออก มาสูงเกินคาด ทำให้ตลาดกังวลเรื่องธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดวงเงิน QE เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็ว ขึ้น

“บาทอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ แต่ยังทรงตัวนิ่งๆ ตลาดกลับมากังวลเรื่องเฟดปรับลด QE และขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น หลังตัวเลข ดัชนี PPI ออกมาสูงเกินคาด”

นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.30 – 33.50 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ต้อง ติดตาม ได้แก่ ผลประชุมเฟด, ทิศทางของเงินทุนต่างประเทศจากผู้ค้าทองคำหลังราคาทองในตลาดโลกปรับตัวลดลง 15.9 ดอลลาร์/ ออนซ์

THAI BAHT FIX 3M (14 ธ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.07789% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.22978%

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.77 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 113.55/60 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1263 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1295/1.1300 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.414 บาท/ดอลลาร์

– “ส.อ.ท.” ลุ้นปี 65 เปิดประเทศได้ต่อเนื่อง หวังมาตรการรัฐในการกระตุ้นกำลังซื้อและเศรษฐกิจ หนุนยอดการผลิตรถ ยนต์ปี 65 ของไทย แตะ 1.7-1.8 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 64 หลังพบประชาชนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น โดยยอดจองรถงาน มอเตอร์ เอ็กซ์โป ทะลักเกินเป้า จับตาโควิดกลายพันธุ์-การขาดแคลนชิป ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของอุตฯ ยานยนต์

– ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดยุทธศาสตร์ปี 65 ตั้งเป้าสนับสนุนบริษัทขนาดเล็ก-ธุรกิจนิวเอสเคิร์ฟ เข้าระดมทุน เล็งออกผลิตภัณฑ์ เชื่อมโยงการลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้น ช่วยนักลงทุนกระจายความเสี่ยง พร้อมเดินหน้าสู่ตลาดทุนดิจิทัล คาดอนาคตตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเติบ โตควบคู่กับตลาดทุนแบบเดิม

– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต พุ่งขึ้น 9.6% ในเดือนพ. ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่มีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนพ.ย. 2553 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ ระดับ 9.2% หลังจากดีดตัวขึ้น 8.8% ในเดือนต.ค.

– วุฒิสภาสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 50 ต่อ 49 ผ่านร่างกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐแล้วในวันอังคาร (14 ธ.ค.) โดยจะเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลกลางอีก 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ สู่ระดับราว 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันที่ระดับ 28.9 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ธ.ค.) ขานรับการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) พุ่งแตะ ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ย.

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์มื่อคืนนี้ (14 ธ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจาก ความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย.ของสหรัฐพุ่งแตะระดับ สูงสุดเป็นประวัติการณ์

– นักลงทุนจับตาผลการประชุมเฟดซึ่งจะมีการแถลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย

– นักวิเคราะห์จากบริษัทแปซิฟิก อินเวสเมนท์ แมเนจเมนท์ (PIMCO) คาดการณ์ว่า เฟดจะประกาศในการประชุมครั้งนี้ว่า จะเร่งปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 เนื่อง จากมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นเป็นเวลานาน

– นักวิเคราะห์จาก PIMCO คาดว่าเฟดจะประกาศลดวงเงิน QE เดือนละ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยจะเริ่มในเดือนม.ค. 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากเดิมเดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และจะประกาศเจตนารมณ์ในการยุติโครงการ QE ในเดือนมี.ค. 2565 ภายหลังการประชุมเสร็จสิ้นลงในวันพุธที่ 15 ธ.ค.นี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 16 ธ.ค.ตามเวลาไทย

– ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนพ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัว เลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนพ.ย.

– นักลงทุนยังจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางอื่น ๆ ในสัปดาห์นี้ โดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลาง อังกฤษ (BoE) จะจัดการประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 16 ธ.ค. ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะประชุมในวันศุกร์ที่ 17 ธ.ค.นี้

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15 ธ.ค. 64)

Tags: ,