สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดผลสำรวจแนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2568 ที่ได้มาจากการสำรวจความคิด เห็นของผู้ประกอบการ พบว่า จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18 กลุ่ม, อัตราการเติบโตทรงตัวเท่ากับปีก่อน 21 กลุ่ม และอัตราการเติบโตลดลงจากปีก่อน 8 กลุ่ม ได้แก่
18 อุตสาหกรรม ขยายตัว
- ก๊าซ
- แก้วและกระจก
- เครื่องสำอาง
- ชิ้นส่วนและอะไหล่ฯ
- ต่อเรือซ่อมเรือฯ
- เทคโนโลยีชีวภาพ
- น้ำตาล
- ปูนซีเมนต์
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ฯ
- ไม้อัด
- ไม้บางฯ
- ยา
- ยาง
- รองเท้า
- โรงเลื่อย
- สำรวจ
- หัตถกรรมสร้างสรรค์
- อากาศยานฯ
21 อุตสาหกรรม ทรงตัว
- การพิมพ์ฯ
- เคมี
- เครื่องปรับอากาศ
- เซรามิก
- ดิจิทัล
- น้ำมันปาล์ม
- ปิโตรเคมี
- ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์
- พลังงานหมุนเวียน
- พลาสติก
- เฟอร์นิเจอร์
- ยานยนต์
- เยื่อและกระดาษ
- โรงกลั่นน้ำมันฯ
- สมุนไพร
- สิ่งทอ
- หล่อโลหะ
- เหล็ก
- อลูมิเนียม
- อัญมณี
- อาหารและเครื่องดื่ม
8 อุตสาหกรรม หดตัว
- การจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม
- แกรนิตและหินอ่อน
- เครื่องจักรกลการเกษตร
- เครื่องจักรกลฯ
- เครื่องนุ่มห่ม
- ผู้ผลิตไฟฟ้า
- หนังและผลิตภัณฑ์หนัง
- หลังคาและอุปกรณ์
ปัจจัยบวกที่มีผลต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2568 ได้แก่
– ในประเทศ
1.กำลังซื้อดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวขยายตัว
2.การจัดสรรงบลงทุนปี 2568 เพิ่มขึ้น
3.แนวโน้มการลงทุนขยายตัวในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการส่งเสริม Local Content
4.แนวโน้มการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสืทธิภาพการผลิต
5.การลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
– ต่างประเทศ
1.การส่งออกในตลาดคู่ค้าและ CLMM ขยายตัว
2.การเจรจาความตกลง FTA เพิ่มโอกาสการค้า
3.การย้ายฐานการผลิตเข้ามาไทย และการสร้างโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม Global Supply Chain
4.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิต
5.ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
ปัจจัยลบที่มีผลต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2568 ได้แก่
– ในประเทศ
1.ปัญหาหนี้ภาคธรกิจและดอกเบี้ยเงินกู้สูงและความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
2.ต้นทุนการผลิตที่ทรงตัวในระดับสูง
3.สินค้าราคาถูกด้อยคุณภาพเข้าทุ่มตลาด
4.ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีได้ทัน
5.ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– ต่างประเทศ
1.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และผลกระทบจากสงคราม
2.สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน อาจทวีความรุนแรงและหลายประเทศใช้มาตรการ NTM/NTB
3.การแข่งขันรุนแรงในตลาดคู่ค้า โดยเฉพาะสินค้าจากจีน
4.เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด
5.มาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อม
ภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2568 ยังมีแนวโน้มทรงตัว ซึ่งเป็นผลของฐานต่ำจากปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้มีแรงหนุนจากการขยาย ตัวของภาคการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะใน อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ประกอบกับ มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งการใช้จ่ายผ่านโครงการต่างๆ เช่น Easy E-Receipt และดิจิทัลวอลเล็ต มาตรการวีซ่าฟรี(Free-Visa) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นต้น ตลอดจนมาตรการส่งเสริมการลงทุน
ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศและการจ้างงานปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ เศรษฐกิจโลกโดยรวมยังมีทิศทางเติบ โตได้ซึ่งช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าไทย สอดคล้องกับการเร่งเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อเปิดตลาดประเทศคู่ค้าใหม่ๆ และยังมีปัจจัยหนุนจากการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยใน อนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถ ในการแข่งขัน เช่น ปัญหาต้นทุนการผลิต หนี้ภาคธุรกิจและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูง ภาระหนี้ครัวเรือนที่กดกันกำลังซื้อในประเทศ ผลกระทบ จากสินค้าจีนเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศและประเทศคู่ค้า รวมถึง ปัญหาการเปลี่ยนเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
นอกจากนี้ ยังมีความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในตะวันออกกลางและสงครามรัส เซีย-ยูเครนและความไม่แน่นอนของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และประเทศอื่นๆ ที่อาจใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTM/NTB) เพิ่มขึ้น รวม ถึง มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ภาวะตลาดมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นและคู่แข่งเพิ่มขึ้นในภูมิภาค และยังมีความ ท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ปัจจัยเหล่านี้กดดันภาคอุตสาหกรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้แนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2568 จะมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาปรับใช้ในการ ดำเนินธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และยกระดับมาตรฐานสินค้าให้เป็น ที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังเร่งปรับโมเดลธุรกิจให้เข้าไปมีส่วนใน Supply Chain อุตสาหกรรมเป้าหมาย และสร้างพันธมิตรเพื่อให้ไทยอยู่ในห่วงโซ่การผลิตโลก (Supply Chain Security) ตลอดจนการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวน การผลิต รวมทั้งการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG และพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย BCG Model เพื่อปรับตัวสู่เป้าหมาย Net Zero
จับตานโยบายเศรษฐกิจ “ทรัมป์” ฉุดเศรษฐกิจโลก
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ใน ช่วงกลางดึกคืนนี้ต้องจับตาดูว่าจะมีความชัดเจนเรื่องนโยบายด้านเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากการประกาศนโยบายสงครามการค้าในช่วงหาเสียง หากดำเนินการจริงจะบั่นทอน ให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ชะลอตัวลงจาก 2.7% เหลือ 2.4%
ในส่วนของประเทศไทยนั้นน่าจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมทุกกลุ่มที่ส่งเข้าไปในสหรัฐฯ เนื่องจากอยู่ในเกณฑ์ที่ได้ดุลการค้าจาก สหรัฐ โดยการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ มีสัดส่วน 20% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงทรัมป์ 1 ที่เป็นผู้ส่งออกอันดับ ที่ 14 มาอยู่ที่อันดับ 12 และปัจจุบันน่าจะขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 9
แนวทางการแก้ไขปัญหานั้นจะต้องแสวงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อลดสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯ ลง เหมือนที่จีนหัน มาเพิ่มมูลค่าทางการค้ากับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 5.3 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อลดสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯ จนส่งผลกระทบ ต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยจาก 20 กลุ่มในปี 65 มาเป็น 25 กลุ่มในปี 67 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 30 กลุ่มในปี 68
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 ม.ค. 68)
Tags: ผู้ประกอบการ, ส.อ.ท., สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, อุตสาหกรรม, เกรียงไกร เธียรนุกุล