สัมภาษณ์พิเศษ: UWC พลิกโฉมหุ้น Penny ปั้นพื้นฐานเสาเทเลคอมต่างแดนพุ่งเป้าพลิกกำไร

แม้ว่าปัจจุบันหุ้น บมจ.เอื้อวิทยา (UWC) จะมีเพียงราคาต่อหุ้นเพียงหลักสตางค์เท่านั้น เนื่องจากประสบกับสภาวะวิกฤติ “ขาด ทุน” อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ฉุดภาพรวมงบการเงินโดยรวมของบริษัทให้อ่อนแอขาดทุนสะสมกว่า 1,900 ล้านบาทจนกลาย เป็นหุ้นที่ถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแขวนเครื่องหมาย “C” (Caution) เตือนผู้ลงทุนว่าเป็นหุ้นที่มีส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่า 50% ของทุน จดทะเบียนชำระแล้ว นับเป็นสัญญาณความไม่แข็งแรงของฐานะทางการเงินและอาจเสี่ยงเผชิญกับปัญหาได้ในระยะถัดไป

แต่ ณ ปัจจุบัน UWC ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (Rights Offering) สัดส่วน 1:1 ที่ราคา 0.04 บาท/หุ้น ส่งผลให้บริษัทรับเงินเพิ่มทุนจำนวน 526.5 ล้านบาท ซึ่งหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว 13,162.52 ล้านหุ้นได้เข้าซื้อขายเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้งบการเงินบริษัทพลิกกลับมามีความแข็งแกร่งสามารถเดินขยายธุรกิจใหม่ให้เช่าเสาโทรคมนาคมในประเทศ ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอนาคตสามารถสร้างกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าจะผลักดันการเติบโตผลประกอบการของ UWC ได้ใน ระยะยาว

เชื่อพ้นจุดต่ำสุดแล้วลุ้น 3-5 ปีพลิกกำไร

นายธีรชัย ลีนะบรรจง ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร UWC ให้สัมภาษณ์กับ “อินโฟเควสท์” ว่า บริษัทมีเป้าหมายพลิกกลับมามีกำไรสุทธิอีกครั้งช่วง 3-5 ปีจากนี้ เพื่อกลับมาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นให้ได้หลังจากไม่สามารถจ่ายมา นานกว่า 4 ปี ภายหลังจากการปรับโครงสร้างธุรกิจด้วยการยุติกิจการและขายธุรกิจที่ไม่สร้างผลกำไร อย่างธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล มามุ่ง เน้นการดำเนินธุรกิจที่บริษัทมีความชำนาญ นั่นคือธุรกิจเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงและเสาโทรคมนาคม เพื่อสร้างรายได้และกำไรในระยะยาว

รวมถึงขยายฐานธุรกิจไปในธุรกิจโทรคมนาคมในต่างประเทศ ซึ่งจะสร้างรายได้สม่ำเสมอ(recurring income) จากค่า เช่า ระยะยาว 25 ปี เพิ่มเติมจากงานโครงการ เสาส่งไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)

“การปรับโครงสร้างธุรกิจดังกล่าวที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการไปในระดับหนึ่งแล้ว สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของบริษัทได้ ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 1/64 ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 19.78 ล้านบาท ปรับตัวลดลง จากปีก่อนที่มีผลขาดทุน สุทธิอยู่ที่ 310.61 ล้านบาท โดยทิศทางการดำเนินงานจากนี้ หรือในช่วง 3-5 ปี บริษัทจะเน้นในสิ่งที่มีความชำนาญการเป็นพื้นฐาน และ มองหาโอกาสนอกเหนือจากพื้นฐานเดิมเข้ามาเติม”นายธีรชัย กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน RO จำนวน 13,162,525,880 หุ้น อัตราส่วนการจัดสรร 1 หุ้นสามัญ เดิม ต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุน และได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ซึ่งการจองซื้อหุ้นในช่วงที่ผ่านมา มีผู้ถือหุ้น สนใจจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนมากกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรร 1.22 เท่า โดยภายหลังการเพิ่มทุนครั้งนี้ บริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนครบจำนวน 526.5 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 2,632.50 ล้านบาท

บริษัทจะนำเงินที่ได้ไปชำระคืนหนี้เงินกู้เพื่อลดต้นทุนทางการเงินลง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ลดลงมาอยู่ที่ ระดับ 0.5-0.6 เท่า ส่งผลให้ฐานะทางการเงินแข็งแกร่งมากขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในโครงการ ที่มีศักยภาพน่าลงทุน และบริษัทยังได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นให้เปลี่ยนแปลงชื่อ จากบมจ.เอื้อวิทยา เป็น บมจ.สกาย ทาวเวอร์ (STOWER) เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงปรับตัวขององค์กรและพัฒนาการของธุรกิจ ซึ่งถือเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของบริษัทใน รอบ 54 ปี คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในเดือนมิ.ย.64

เดินหน้าลุยธุรกิจให้เช่าเสาโทรคมนาคมในฟิลิปปินส์

นายธีรชัย กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการเข้าไปดำเนินธุรกิจให้เช่าเสาโทรคมนาคมในประเทศฟิลิปปินส์เกิดจากการที่บริษัทมอง เห็นโอกาสที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ออกนโยบาย Common Tower Policy และตั้งเป้าขยายจำนวนสถานีโทรคมนาคมอีกอย่างน้อย 50,000 สถานี เพื่อรองรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือของประชากรในประเทศ

นอกจากนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังเพิ่งให้สัมปทานผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายที่ 3 คือ DITO ถือหุ้นใหญ่โดย CHINA Telecom รัฐวิสาหกิจชั้นนำของประเทศจีน เพื่อให้บริการคลื่นความถี่ 700 MHz ถึง 3,500 MHz ระยะเวลา 25 ปี ซึ่งทำให้มีความต้อง การติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณบนเสาโทรคมนาคมจำนวนมาก เพื่อเร่งสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมผู้ใช้บริการมือถือกว่า 110 ล้านคนใน ฟิลิปปินส์ งบลงทุนกว่า 17,000 ล้านบาทในปี 64

บริษัทได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานรัฐบาลกำกับดูแลด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม (DICT) เพื่อให้สามารถเป็น เจ้าของและก่อสร้างสถานีเสาโทรคมนาคม รวมถึงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านเสาโทรคมนาคมในประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้จัด ตั้งบริษัทย่อย ภายใต้ชื่อ SkyTowers Infra Inc. ในฟิลิปปินส์ ด้วยทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 100 ล้านเปโซ ซึ่ง UWC ถือหุ้นทั้งหมด 100% เพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว

รูปแบบธุรกิจของ SkyTowers Infra คือ สร้างสถานีฐานพร้อมเสาเทเลคอมเพื่อให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเช่า เพื่อติด ตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณ, บริษัทเป็นเจ้าของทรัพย์สินเสาและอุปกรณ์, สามารถให้เช่าสถานีเสาเทเลคอม (Cell Site) กับผู้ให้บริการ โทรศัพท์มือถือได้มากกว่า 1 ราย และทำสัญญาเช่าระยะยาว 15 -25 ปี กับบริษัทผู้ให้บริการมือถือ

ขณะที่การดำเนินการก่อสร้างสถานีเสาโทรคมนาคม บริษัทจะต้องได้รับ PO ก่อน จึงจะลงทุนสร้างเท่านั้น ทำให้ไม่มีความ เสี่ยงด้านการหารายได้, รับค่าเช่าล่วงหน้า 12 เดือนเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ, สามารถให้เช่าพื้นที่สถานีฐานและเสาเทเลคอมได้ มากกว่า 1 ราย และสามารถจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ได้ *จีบลูกค้าใหม่บริษัทมือถือเบอร์ 1 ของฟิลิปปินส์

ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารายแรกแล้ว คือ DITO หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายที่ 3 ของฟิลิปปินส์โดยได้รับออเดอร์เช่าสถานี เสาโทรคมนาคมแล่ว 8 สถานี ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะ Luzon

จากนั้น ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมกับ GLOBE Telecom ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมทั้งโทรศัพท์พื้นฐานโครง ข่ายบรอดแบนด์และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่อันดับ 1 ของฟิลิปปินส์ที่มีลูกค้ากว่า 90 ล้านเลขหมาย และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippine Stock Exchange-PSE) ก็ถือว่ามีสัญญาณที่ดีหลังจากที่บริษัทได้มีการเข้าไปพูดคุย

ตั้งเป้า 3 ปีก่อสร้างครบ 620 สถานีรับรู้รายได้กว่า 500 ลบ./ปี

นายธีรชัย กล่าวว่า บริษัทมีเป้าหมายก่อสร้างสถานีเสาโทรคมนาคมในช่วง 3 ปี (64-66) ทั้งสิ้น 620 สถานีในฟิลิปปินส์ แบ่งเป็น ปี 64 จำนวน 140 สถานี และในปี 65 จำนวน 240 สถานี ใช้เงินลงทุนประมาณ 4.7 ล้านบาท/สถานี ซึ่งภายหลังจากดำเนิน การก่อสร้างครบตามเป้าหมาย บริษัทคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้จากการให้เช่าเสาโทรคมนาคมประมาณกว่า 400-500 ล้านบาท/ปี ส่ง ผลให้ UWC จะมีรายได้และกำไรในระยะยาวอย่างสม่ำเสมอไปอีก 25 ปี ประกอบกับคาดว่าจะส่งผลทำให้สินทรัพย์มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นที่น่าสนใจของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

“วันนี้ UWC ถือเป็นหุ้น Hope Stock หรือหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีความคาดหวัง ซึ่งบริษัทก็มีแผนในระยะกลางที่จะกลับมาจ่ายเงินปันผล ให้แก่ผู้ถือหุ้นหลังไม่ได้จ่ายมานานกว่า 4 ปี โดยบริษัทจะพยายามทำให้ผลการดำเนินงานในปี 64 และปี 65 มีการเติบโต”นายธีรชัย กล่าว

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 มิ.ย. 64)

Tags: , , , , , , ,