พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ลงนามในคำสั่งออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 28) เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด- 19 ที่มีการกลายพันธุ์ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤติด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แม้ว่าจะมีข้อกำหนดในฉบับที่ 27 ลงวันที่ 10 ก.ค.64 แล้วแต่ยังไม่อาจชะลออัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคหลายจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มต่อเนื่อง ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อจากการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในครอบครัวและชุมชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องยกระดับความเข้มข้นของมาตรกำรและการบังคับใช้อย่ำงจริงจังเพิ่มเติมขึ้น
ในประกาศฉบับนี้จึงได้มีการปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เพิ่มเป็น 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหำนคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา
พร้อมทั้งย้ำมาตรการลดและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางของประชาชนในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมถึงการออกนอกเคหสถานหรือที่พำนักโดยไม่จำเป็น ยกเว้นสำหรับกำรเดินทางในบางกรณีที่จำเป็น เช่น กำรเดินทำงเพื่อจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อาหาร ยาหรือเวชภัณฑ์ การเดินทางเพื่อพบแพทย์ เพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข การรักษาพยาบาล การรับวัคซีนป้องกันโรค หรือมีความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานหรือการประกอบอาชีพที่ไม่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้
ในประกาศฉบับได้ขยายเวลาข้อกำหนดพื้นที่ห้ามออกนอกเคหสถานเพิ่มเติมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ระหว่างเวลา 21.00 น.ถึง 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับแต่วันที่ข้อกำหนดฉบับนี้ใช้บังคับ
พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและการตรวจคัดกรองการเดินทางเฉพาะเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดเส้นทางคมนาคมเข้าออกเขตพื้นที่ โดยการคัดกรอง ชะลอหรือสกัดกั้นการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเพื่อเดินทางไปยังพื้นที่อื่น
สำหรับการขนส่งสาธารณะ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลกำรให้บริกำรขนส่งผู้โดยสาธารณะทุกประเภทในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และการขนส่งสำธำรณะทุกประเภทระหว่างจังหวัดทั่วราชอาณาจักรให้เป็นไปตำมแนวทางที่ ศปก.ศบค. กำหนด โดยจำกัดจำนวนผู้โดยสารไม่เกิน 50% ของความจุผู้โดยสารสำหรับยานพาหนะแต่ละประเภท รวมทั้งจัดให้มีการเว้นระยะห่าง
นอกจากนั้นในมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วนเฉพาะในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมกำรโรคติดต่อมีคำสั่งปิดสถานที่หรือกิจการที่มีความเสี่ยงเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการแพร่ของโรคติดเชื้อโควิด- 19 ต่อเนื่องอย่ำงน้อยเป็นระยะเวลา 14 วัน
ส่วนบริการดังต่อไปนี้ให้เปิดได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรคที่กำหนดที่เข้มงวดยิ่งขึ้นจากที่ได้เคยกำหนดไว้แล้ว
-การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา 20.00 น.ห้ามการบริโภคในร้าน และให้นำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
-ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดได้เฉพาะแผนกซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกยาและเวชภัณฑ์ โดยเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
-โรงแรม ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติ งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนาหรือจัดเลี้ยง
-ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด ให้เปิดได้ถึง 20.00 น.โดยจำกัดเวลาสำหรับรานสะดวกซื้อซึ่งตำมปกติเปิดให้บริการในช่วงเวลากลางคืน ให้ปิดให้บริการในระหว่างเวลา 20.00 น.ถึง 04.00 น.วันรุ่งขึ้น
-โรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือฝึกอบรม และสถานศึกษาต่างๆ ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้
ขณะที่ โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้ายขายยา ร้านค้าทั่วไป โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง ร้านจำหน่ายสินค้ำเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงเปิดดำเนินการได้ตามความจำเป็น
นอกจากนั้น ยังย้ำคำสั่งห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่มีการรวมตัวมากกว่า 5 คนขึ้นไป จะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบและทบทวนมาตรการป้องกันโรค
ทั้งนี้ การบังคับใช้มาตรการตามข้อกำหนด ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและกำกับการปฏิบัติตามมาตรการ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้เป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 14 วันจนถึงวันที่ 2 ส.ค.64 โดยจะมีการประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมของมาตรการทุก 7 วัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.64 เป็นต้นไป เว้นเฉพาะมาตรการขนส่งสาธารณะให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค.64 เป็นต้นไป
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 ก.ค. 64)
Tags: ประยุทธ์ จันทร์โอชา, ล็อกดาวน์, ศบค., เคอร์ฟิว