น.ส.นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงครึ่งปีแรก ของปี 66 (เดือนมกราคม-มิถุนายน) เฉลี่ยอยู่ที่ 156.74 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.7% และคาดว่าภาพรวมทั้งปีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
ครึ่งปีแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 31.96 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.9%
เฉลี่ยอยู่ที่ 72.30 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.7% เนื่องด้วยปัจจัยด้านราคา ทั้งนี้ ภาครัฐยังคงมาตรการช่วยเหลือราคาน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่อง โดยภายหลังจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 5 บาท/ลิตร สิ้นสุดลงในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 จะอาศัยกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป
เฉลี่ยอยู่ที่ 13.45 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 80.9% จากการฟื้นตัวของการเดินทางทางอากาศภายหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เฉลี่ยอยู่ที่ 17.69 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.4 โดยส่วนใหญ่มาจากการใช้ลดลงในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 4.2%
กรมฯ คาดการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงครึ่งปีหลัง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการปรับตัวของธุรกิจที่พึ่งพาการขนส่งมากขึ้น โดยน้ำมันกลุ่มเบนซินปรับเพิ่มขึ้น 1.2% น้ำมันดีเซลปรับลดลง 1.9% น้ำมัน JET A1 ปรับเพิ่มขึ้น 30.6% และ LPG เพิ่มขึ้น 5.7% โดยการคาดการณ์ของกรมยังสอดคล้องกับการคาดการณ์ของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ กรมฯ คาดว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยปี 66 ในภาพรวมยกเว้นน้ำมัน JET A1 จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 เนื่องจากธุรกิจการบินอยู่ระหว่างการฟื้นฟู และการเติบโตของเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยลดการเดินทางไกล
สำหรับการแก้ไขปัญหาระบบการค้าและความปลอดภัยก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภาคครัวเรือน หรือ (ก๊าซหุงต้ม) กรมธุรกิจพลังงานโดยคณะทำงานแก้ไขปัญหาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในภาคครัวเรือน ได้จับมือร่วมกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อกำหนดมาตรการร่วมกัน ประกอบด้วย
1. กำหนดมาตรฐานและคุณภาพถังก๊าซหุงต้ม โดยกรมฯ ผู้ค้าก๊าซหุงต้ม และผู้แทนโรงบรรจุและร้านจำหน่าย ร่วมกันพิจารณาเกณฑ์การคัดสภาพถังกลาง เพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินการร่วมกัน พร้อมทั้งขอให้โรงบรรจุรับคืนถังเสื่อมสภาพจากร้านจำหน่าย เพื่อส่งผู้ค้าฯ ดำเนินการต่อไป
2. มาตรการด้านกฎหมายความปลอดภัยโรงบรรจุและร้านจำหน่าย จัดทำขั้นตอนการตรวจตราและบันทึกการตรวจสอบ (Checklist) พร้อมซักซ้อมความเข้าใจสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ
3. มาตรการด้านกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา (ทป.) จัดทำขั้นตอนการดำเนินการเมื่อพบถังไม่ได้คุณภาพ
4. การร้องเรียนและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อยู่ระหว่างหารือผู้ค้าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดตั้ง Hotline รับเรื่องร้องเรียน คาดจะเริ่มดำเนินการภายในเดือนกันยายน 66
5. การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียกเก็บและการซ่อมถังก๊าซหุงต้ม กรมได้ขอความร่วมมือผู้ค้าฯ ที่มีศักยภาพซ่อมถัง ให้เปิดรับบริการผู้ค้าฯ รายอื่น เพื่อลดข้อจำกัดการขนส่งและระยะเวลาการซ่อม ตลอดจนการประสานความร่วมมือเรียกเก็บถังทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งแนวทางอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดร่วมกับผู้ค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการภายในเดือนตุลาคม 66
6. การแก้ไขปัญหาการลักลอบเติมถังก๊าซหุงต้มในสถานีบริการ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและลดการกระทำผิด กรมได้กำหนดอัตราปรับเต็มขั้น และกำชับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ออกตรวจตราเข้มข้นมากขึ้น
กรมธุรกิจพลังงานยืนยันเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาถังก๊าซหุงต้มทั้งระบบโดยประสานความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้ประชาชน และให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนโดยยึดประโยชน์ของภาคประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งกรมได้ประสานผู้ค้า ตัวแทนร้านจำหน่ายก๊าซ และตัวแทนโรงบรรจุ ตลอดจนพลังงานจังหวัดทั่วประเทศสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินการที่ถูกต้อง เพิ่มความถี่การตรวจตราและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรมจะรายงานความคืบหน้าแจ้งต่อสาธารณะเป็นระยะ ต่อไป
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ส.ค. 66)
Tags: กรมธุรกิจพลังงาน, ดีเซล, นันธิกา ทังสุพานิช, น้ำมัน, น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์, น้ำมันเชื้อเพลิง, น้ำมันเบนซิน, เบนซิน