นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.65/66 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 33.50 บาท/ดอลลาร์
เช้านี้เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวอ่อนค่า จากราคาทองที่ย่อตัวลง และดอลลาร์ที่ปรับตัวแข็งค่า แม้ดัชนีความ เชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ ออกมาต่ำสุดในรอบ 32 เดือน แต่มีความคืบหน้าเรื่องที่จีนยกเว้นภาษีบางตัวให้กับสหรัฐฯ
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ตลาดจับตาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 30 เม.ย. นี้เป็นหลัก
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.50 – 33.80 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.60/61 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 143.36 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1354/1355 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1355 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.463 บาท/ดอลลาร์
– “นักเศรษฐศาสตร์” ชี้ไทยกำลังเผชิญวิบากกรรม เคราะห์ซ้ำกรรมซัดทั้งปัจจัยในและนอกประเทศ “ทีทีบี” ชี้ไทยอ่อนแอทั้ง จากภายใน “การผลิตตกต่ำ-หนี้ครัวเรือนสูง-ผู้ประกอบการแข่งขันยาก” และ “สินค้าจีน” ทะลักเข้าไทย ซ้ำเติม เจอ “ขึ้นภาษีทรัม ป์สูง” แนะเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ เฉพาะจุด “กรุงไทย” แนะไทยเร่งขยายตลาด ส่งออก-นำเข้าเพิ่มทดแทนการพึ่งจีน “กสิกร ไทย” แนะไทยตั้งเกณฑ์การเข้าลงทุนไทยต้องเพิ่มมูลค่าเพิ่มกับเศรษฐกิจไทยหรือสินค้าไทย
– “รัฐบาล” เร่งแผนป้องกัน สวมสินค้าไทยส่งออกไปสหรัฐ “กรมการค้าต่างประเทศ” ดึงการรับรอง C/O ไปดูเองทั้ง หมด เพิ่มสินค้าเฝ้าระวังอีก 65 รายการ 224 พิกัดศุลกากร หารือสหรัฐสรุป พิกัดสินค้าให้ตรงกัน ส.อ.ท.ชี้ปัญหา บริษัทจีนแปลงสัญชาติ ขอ C/O แนะ ดำเนินคดีเด็ดขาด เตรียมชงบอร์ดบีโอไอกำหนดสิทธิประโยชน์ลงทุน คุมสัดส่วนวัตถุดิบในไทย ป้องกันใช้ไทยเลี่ยงภาษีนำ เข้าสหรัฐ การแก้ปัญหาการสวมถิ่นกำเนิดสินค้าเป็นประเด็นที่สหรัฐให้ความสำคัญกับหลายประเทศในอาเซียน ซึ่งสหรัฐเห็นว่าเป็นประเทศที่ มีความเสี่ยงในการนำสินค้าจีนมาสวมถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อส่งออกไปสหรัฐ
– ธนาคารโลกมีการอัปเดตภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ในการประชุมฤดูใบไม้ผลิของไอเอ็มเอฟและ ธนาคารโลก ประจำปี 2568 เช่นกัน โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก จะลดลงมาอยู่ที่ 4.0% จากเดิมที่อยู่ที่ 5.0% ในปี 2567
– หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกเตือนว่า ความไม่แน่นอนทางการค้าโลกกำลังซ้ำเติมปัญหาหนี้และเศรษฐกิจชะลอ ตัวในประเทศตลาดเกิดใหม่ และแนะนำให้ลดภาษีนำเข้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
– รัฐมนตรีคลังของจีนกล่าวที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ว่า จีนยังคงตั้งเป้าหมายให้เศรษฐกิจเติบโต 5% ในปี 2568 แม้มีปัญหา ความตึงเครียดด้านการค้าก็ตาม
– มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนเม.ย. แม้ดัชนีถูกปรับเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังอยู่ที่ระดับต่ำ สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2565 ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ผลสำรวจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 52.2 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 32 เดือน จากระดับ 57.0 ในเดือนมี.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 50.8 ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น 6.5% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2524 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมี.ค.ที่ระดับ 5.0%
– นักลงทุนยังคงจับตาความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หลัง จากสื่อรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่า การระงับการเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) น่าจะไม่เกิดขึ้นอีก
– ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ เครื่องชี้แรงงาน JOLTS ดัชนีราคา PCE/Core PCE ยอดทำสัญญาขาย บ้านที่รอปิดการขายเดือนมี.ค. ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2568 ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชน ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิต ตัวเลขการ จ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนเม.ย. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28 เม.ย. 68)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท