นายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวในหัวข้อ Technology: The twin factor of sustainability, from Net Profit to Net Positive ว่า ในโลกยุคใหม่ความยั่งยืนกลายเป็นหัวใจสำคัญ การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือแนวคิด ESG ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งองค์กรต่างๆตระหนักดีว่าการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบจะนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว
โดยแนวโน้มการเติบโตของ ESG ทำให้กระแสความต้องการข้อมูล ESG ขององค์กรต่างๆ ทั้งที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดและบริษัทนอกตลาดต่างเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยมีการคาดการณ์ว่า ตลาดบริการข้อมูลด้าน ESG ทั่วโลก จะมีมูลค่าอยู่ที่ 1.93 พันล้านดอลาร์สหรัฐ ในปี 67 หรือเติบโตเฉลี่ย 23% ต่อปี ในช่วงปี 64-68 ขณะที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยด้านบริการข้อมูล ESG ของบริษัทนอกตลาดจะมีตัวเลขสูงถึง 42% ต่อปี
ขณะเดียวกันการที่องค์กรต่างๆ เริ่มจับตาการเข้ามาของเทคโนโลยี AI ในปัจจุบัน ซึ่งการนำ AI เข้ามาใช้จะสามารถช่วยหนุนต่อการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน และนำไปสู่ประสิทธิภาพการดำเนินงานแบบใหม่ เช่น การค้นพบวิธีใหม่ๆในการติดตามและทำความเข้าใจกับประเด็นด้าน ESG ได้อย่างครอบคลุม จากความสามารถของเทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ช่วยในกานสามารถลดต้นทุนที่ใช้ติดตาม และรายงานประเด็น ESG ให้ต่ำลงได้
องค์กรที่ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ย่อมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในหลายระดับ คือ ในระดับแรกอยู่ที่สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม จะได้รับประโยชน์จากการที่ธุรกิจใส่ใจดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้น ระดับต่อมา คือ ตัวองค์กรเองจะมีโอกาสได้รับรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น จากการใช้ ESG สร้างการเติบโต และเพิ่ม Produtivity และระดับท้ายนั้นผู้ลงทุนควรจะได้รับผลตอบแทนทั้งกำไรจาก Capital Gain และเงินปันผลที่สูงขึ้นจากการลงทุนในกิจการที่มีความใส่ใจในเรื่อง ESG
นายสมคิด จิรานันตรัตน์ อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย (KTB) และอดีตประธาน บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวในหัวข้อ The next chapter of the digital transformation for Thailand ว่า แม้ว่าหลายๆองค์กรจะตื่นตัวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งต้องมีการทำ Digital Transformation แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีเพียงไม่กี่แห่งที่ประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation
การสร้างสิ่งใหม่ ๆ ต้องกำหนดลำดับความสำคัญ ซึ่งต้องกำหนดจาก short-term revenue อย่างเช่น ในมุมมองของธนาคารที่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์ม ต้องมีการกำหนดตั้งเป้าที่คล้ายกับการทำสาขาทั่วไป สามารถต้องทำรายได้ได้เท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน และสามารถสร้บงผลตอบแทนกลับมาได้ รวมถึงจะต้องมี Passion และ Mindset ในการพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงความรวดเร็วในการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก โดยเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่
“ถ้าทุกคนในองค์กรเชื่อในเทคโนโลยีใหม่จะมาดิสรัปต์ได้ แต่การเปลี่ยน Culture และ Mindset ไม่ได้เปลี่ยนได้ภายในชั่วข้ามคืน” นายสมคิด กล่าว
สำหรับในปัจจุบันข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการมีข้อมูลมากจะทำให้เข้าใจความเป็นไปหลายอย่าง โดยเฉพาะการนำข้อมูลวัดความพอใจของผู้ใช้ ทำให้เข้าใจลูกค้า นำมาสู่การออกแบบเทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของคนมากขึ้น ซึ่งวันนี้ข้อมูลและ AI เป็นของคู่กัน การนำข้อมูลมาก็ต้องมีเครื่องมือ ไม่ได้ใช้คนอย่างเดียว แต่ต้องใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ ทั้ง AI พื้นฐานทั่วไปเบื้องต้น AI ที่เป็น Machine learning หรือ AI ที่เป็นแบบ Deep tech ซึ่งวันนี่ AI ถือเป็น Chapter ใหม่ของก่าวต่อไปในโลกเทคโนโลยี ที่มีบทบาทมากขึ้นในการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตประจำวัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งหนึ่งที่หลายคนพูดถึงกันบ่อย คือ Blockchain ซึ่งการใช้ Blockchain ทำให้ไม่ต้องมีคนที่ทำหน้าที่ควบคุมก็ได้ สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างความน่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องมีองค์กรตรงกลางคอยควบคุม เป็นการสร้างประโยชน์ในกรณีที่ต้องมีความร่วมมือหลายภาคส่วน ซึ่งแต่ละภาคส่วนไม่มีใครคนใดคนหนึ่งครอบงำ แต่ใช้ระบบกลางเป็นแบบ decentralized ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งทั้ง AI และ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาจะเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน วิธีคิด และธุรกิจในอนาคตได้
นายทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director KBTG กล่าวในหัวข้อ AI Economy by AI Ecosystem, AI from one to millions ว่า AI กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีแบบ General-purpose Technology ซึ่งดูด้วยตาอาจจะไม่เห็น แต่อยู่ทุกที่แน่นอน โดย KBTG เป็นอีกหนึ่งผู้บุกเบิกทางด้าน AI ในประเทศและภูมิภาค สร้างเป็น AI Ecosystem ในด้านต่าง ๆ ทั้ง การทำวิจัยร่วมกับ MIT Media Lab อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 65 รวมถึงการออกแบบเทคโนโลยี เช่น ระบบ Face Recognition และยืนยันหน้าจริงให้ล้ำสมัยและใช้งานง่าย โดยจากผลงาน Face Liveness ทำให้ปัจจุบัน KBTG เป็นองค์กรเดียวในเอเชียและองค์กรที่สามของโลกที่ผ่านการรับรองระดับสูงสุดจากการทดสอบของ iBeta ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากล พร้อมเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ FinLearn แพลตฟอร์มการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI
การนำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคการเงิน และสุขภาพ ซึ่งในด้านการเงินสิ่งที่ KBTG ทำกับ MIT media lab คือ เรื่องของการศึกษาในการออกแบบวิธีการเรียนรู้ให้แหมาะสมกับคนแต่ละแบบ ทำให้ผู้เรียนสามารถซึมซับได้ดีที่สุดในระดับของตัวเอง ส่วนเรื่องสุขภาพ ขณะนี้หลายองค์กรได้มีการใช้ AI ช่วยอ่านฟิล์มเอกซเรย์ ช่วยดูประวัติของตนไข้ แล้วคาดการณ์ ได้ว่าในอนาคตจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคใดบ้าง และยังมีการคาดการณ์ในเรื่องของ Climate Change โดยนำ AI มาช่วยพยากรณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีความแม่นยำไม่ต่ำกว่า 50%
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการนำ AI ไปปรับใช้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน และประกันภัย สิ่งหนึ่งที่เมื่อไปเจอคู่ค้าและคู่ค้าตามหา คือ AI จะสามารถตอบโจทย์ในด้าน Business Value และ Operational Excellence ได้อย่างไร ซึ่งจะเกิดการนำ AI ไปปรับใช้กับเรื่องเหล่านี้ก่อน แม้ว่าการใช้งาน AI ในประเทศไทยอาจตามหลังต่างประเทศอยู่ แต่เชื่อว่าปีนี้ และปีถัดๆไป การนำ AI ไปปรับใช้ในองค์กรทั่วไปสูงขึ้นมากขึ้น และน่าจะเป็นลักษณะของ exponential ด้วย โดยเฉพาะ ในกลุ่มของ B2B ที่จะตามหาในมุมที่ทำให้เกิด cost saving ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงาน และดึง Performance ขึ้น
“โลกจะเปลี่ยนไปสิ้นเชิง และเปลี่ยนเร็วกว่าที่เราคิดไว้มาก จนอาจถึงขั้นว่า AI จะแนะนำว่าเราควรสร้างเทคโนโลยีแบบไหนได้อีกด้วยซ้ำ” นายทัดพงษ์ กล่าว
นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กล่าวในหัวข้อ AI and Sustainability Solution ว่า AI คือ Game Changer ในปี 67 ที่กระทบทั้งอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปในองค์กร ที่คนในองค์กรจะต้อง Re-Skill ตัวเอง ทำให้ Re-Bundle เป็นทักษะใหม่ ๆ ให้กับงาน ทำไห้องค์กรจะใช้คนน้อยลง และนำ AI เข้ามาใช้มากขึ้น ส่งผลให้องค์กรสามารถสร้าง Productivity ได้เพิ่มขึ้นมหาศาล และช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร
โดยที่ AI สามารถช่วยต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมในการหาโอกาสใหม่ๆในธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมี Efficiency และ Productivity เพิ่มขึ้น รวมถึงการต่อยอดสิ่งใหม่ๆเข้ามาเสริมให้กับธุรกิจที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไป และเปลี่ยนไปอย่างนวดเร็ว ขณะเดียวกัน AI ยังสร้างอาชีพใหม่ๆเข้ามาทดแทน หากคนเกิดความเชื่อมั่นในความแม่นยำของ AI ซึ่งในอนาคตอาจมี Digital Doctor Digital Moderator แต่ก็ต้องข้ามผ่านความเชื่อของคนต้องกล้าใช้จริงๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องความน่าเชื่อถือของAIซึ่งต้องกำหนดข้อกฎหมายและข้อตกลงกันต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ AI ยังจะมีบทบาทมากต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Green Trade ในการที่ช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ช่วยในการคิดคำนวณวิธีการลดคาร์บอน รวมถึงการซื้อขาย Carbon credit ซึ่งเชื่อมต่อกับ Digital service โดยที่ Green Trade ถือเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตมากถึง 3 เท่า จากเทรนด์ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับดิจิทัลมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“วันนี้ใครหรือองค์กรไหนไม่มีคำว่า ดิจิทัล และ Green คนนั้น องค์กรนั้น ประเทศนั้น จะไม่มีความสำคัญอีกต่อไปใน 10 ปีข้างหน้า”นายจิรายุส กล่าว
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (13 มิ.ย. 67)
Tags: AI, ESG, ปัญญาประดิษฐ์, พิพัฒน์ ยอดพฤติการ, สถาบันไทยพัฒน์, สิ่งแวดล้อม