นิด้าโพล เผยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ 42.75% ระบุค่อนข้างมีความสุขเพราะได้อยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัว มีงานทำ ไม่มีโรค และไม่มีหนี้สิน รองลงมา 27.86% ระบุไม่ค่อยมีความสุขเพราะเศรษฐกิจไม่ดี ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และเบื่อความวุ่นวายทางการเมือง ตามด้วย 18.63% ระบุมีความสุขมากเพราะมีงานทำ สุขภาพแข็งแรง ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลานและคนในครอบครัว ขณะที่บางส่วนระบุว่าเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้น, อีก 10.69% ระบุไม่มีความสุขเลยเพราะเศรษฐกิจไม่ดี รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ไม่มีงานทำ มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีปัญหาสุขภาพ ส่วนที่เหลือ 0.07% ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สิ่งที่ทำให้ประชาชนเหนื่อยหน่ายในปี 2566 ที่ผ่านมามากสุด 58.63% ระบุปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ รองลงมา 25.42% ระบุปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในและนอกสภา ตามด้วย 23.13% ระบุปัญหาภัยไซเบอร์ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ การแฮกข้อมูล เป็นต้น, 20.76% ระบุปัญหาราคาพลังงาน, 20.23% ระบุปัญหาสุขภาพ โรคระบาด, 19.54% ระบุปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด, 16.03% ระบุปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร, 13.89% ระบุปัญหาอาชญากรรม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, 11.91% ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยทางธรรมชาติ, 10.61% ระบุปัญหาความขัดแย้งในสังคม, 9.85% ระบุไม่เหนื่อยหน่ายกับอะไรเลย, 9.62% ระบุปัญหาการคอรัปชันในทุกระดับ, 7.56% ระบุปัญหาการจราจร, 5.65% ระบุปัญหากระบวนการยุติธรรม, 5.19% ระบุปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมในระบบราชการ, 4.58% ระบุปัญหาสงคราม ความขัดแย้งในต่างประเทศ และ 0.92% ระบุอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาการทำงาน ปัญหาครอบครัว และปัญหาความรัก
โดยกลุ่มตัวอย่าง 8.55% มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ, 18.55% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง, 18.01% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ, 33.44% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13.74% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และ 7.71% มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ขณะที่ตัวอย่าง 48.09% เป็นเพศชาย และ 51.91% เป็นเพศหญิง
กลุ่มตัวอย่าง 12.90% อายุ 18-25 ปี, 17.79% อายุ 26-35 ปี, 18.93% อายุ 36-45 ปี, 26.64% อายุ 46-59 ปี และ 23.74% อายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่าง 96.03% นับถือศาสนาพุทธ, 3.44% นับถือศาสนาอิสลาม และ 0.53% นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่นๆ
กลุ่มตัวอย่าง 33.21% สถานภาพโสด, 64.58% สมรส และ 2.21% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ กลุ่มตัวอย่าง 25.88% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, 35.80% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า, 8.24% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า, 25.88% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ 4.20% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
กลุ่มตัวอย่าง 9.69% ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ, 16.11% ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน, 21.22% ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ, 12.75% ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง, 17.18% ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน, 18.09% เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ 4.96% เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ทั้งนี้ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้างในปี 2566 ที่ผ่านมา” ระหว่างวันที่ 12-20 ธ.ค.ที่ผ่านมา จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลักของนิด้าโพลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 ธ.ค. 66)
Tags: ความสุข, นิด้าโพล, ผลสำรวจ