ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยาบ้า 5 เม็ด กับผู้เสพ คือ ผู้ป่วย”ว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 67.40 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 12.60 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 9.85 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และไม่ค่อยเห็นด้วย ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการครอบครองยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด ถือว่าเป็นผู้เสพที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาและไม่ต้องโทษจำคุก พบว่า ตัวอย่าง
- ร้อยละ 78.85 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- ร้อยละ 7.79 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และไม่ค่อยเห็นด้วย ในสัดส่วนที่เท่ากัน
- ร้อยละ 5.50 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- ร้อยละ 0.07 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปริมาณการครอบครองยาบ้าเพื่อเสพที่จะเข้ากับหลักการ “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” พบว่า ตัวอย่าง
- ร้อยละ 59.85 ระบุว่า ยืนยันว่าไม่เห็นด้วย/ไม่ค่อยเห็นด้วยกับหลักการ “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย”
- ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่เกิน 1 เม็ด
- ร้อยละ 8.40 ระบุว่า ประมาณ 2-3 เม็ด
- ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ประมาณ 4-6 เม็ด
- ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ประมาณ 10-12 เม็ด
- ร้อยละ 0.76 ระบุว่า ประมาณ 7-9 เม็ด
- ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ประมาณ 13-15 เม็ด
- ร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง
- ร้อยละ 57.63 ระบุว่า ยาบ้าหาซื้อได้ง่าย
- ร้อยละ 56.79 ระบุว่า ยาบ้ามีราคาถูก
- ร้อยละ 36.26 ระบุว่า กัญชาหาซื้อได้ง่าย
- ร้อยละ 35.57 ระบุว่า พืชกระท่อม/น้ำกระท่อม หาซื้อได้ง่าย
- ร้อยละ 35.27 ระบุว่า นโยบายของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 34.27 ระบุว่า กัญชามีราคาถูก
- ร้อยละ 33.89 ระบุว่า พืชกระท่อม/น้ำกระท่อมมีราคาถูก
- ร้อยละ 31.07 ระบุว่า มาตรการการปราบปรามยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 30.08 ระบุว่า มาตรการการป้องกันยาเสพติด ไม่มีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 26.03 ระบุว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายหย่อนยานในการดำเนินการ
- ร้อยละ 22.60 ระบุว่า สภาพทางสังคมทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น
- ร้อยละ 20.76 ระบุว่า นโยบายถือครองยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด ถือว่าเป็นผู้เสพ
- ร้อยละ 17.63 ระบุว่า สภาพทางเศรษฐกิจทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น
- ร้อยละ 12.44 ระบุว่า นโยบายผู้เสพ คือ ผู้ป่วย
- ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ผู้เสพไม่มีจิตสำนึกเอง
- ร้อยละ 11.07 ระบุว่า มาตรการการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ทั้งนี้ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 เม.ย. 67)
Tags: นิด้าโพล, ผลสำรวจ, ยาบ้า, ยาเสพติด