นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ในยามขาดแคลนวัคซีน หรือต้องการปูพรมคนหมู่มาก การได้เข็มเดียวก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย ปัญหาจึงอยู่ที่ทรัพยากรที่เราจะมีมาโดยเฉพาะวัคซีนถ้าหามาได้มากก็ไม่ควรจะเว้นระยะห่างไปถึง 16 สัปดาห์ กลยุทธ์ในด้านระบาดวิทยาจึงต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมก่อน
ถ้ามีวัคซีนมากพอก็ไม่ควรเว้นระยะห่างไปถึง 16 สัปดาห์ แม้ว่าการกระตุ้นภูมิต้านทานถ้าทิ้งระยะห่าง ภูมิต้านทานที่กระตุ้นขึ้นจะสูงกว่า ระยะที่เข็มแรกกับเข็ม 2 เข้ามาชิดกัน แต่ข้อเสียของการเว้นระยะห่าง คือการป้องกันโรคในช่วงเว้นระยะ จะมีประสิทธิภาพยังไม่
ขณะนี้การศึกษาได้ติดตามกลุ่มที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca จะครบ 1 เดือนหลังฉีดเข็ม 2 ในปลายเดือนนี้ ข้อมูลการฉีดครบ 2 เข็ม ก็จะได้เห็นกัน แต่ยากเอาข้อมูลที่กำหนดระยะห่าง 10 สัปดาห์กับการตรวจพบภูมิต้านทาน ที่ 10 สัปดาห์ ให้ดู เพื่อให้ทราบว่าถึงแม้ว่าจะเลื่อนเป็น 12 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันก็คงจะอยู่ระดับนี้ แต่ถ้าเลื่อนเป็น 16 สัปดาห์ เชื่อว่าถ้าภูมิคุ้มกันตกลงก็ไม่น่าจะมากกว่านี้มาก และการกระตุ้นเข็มที่ 2 ของวัคซีน AstraZeneca โดยทั่วไปจะสูงขึ้น 1 log scale กำลังรอติดตามปลายเดือนนี้เต็มที่
ส่วนวัคซีน Sinovac ก็กำลังจะตรวจภูมิต้านทาน 3 เดือนหลังฉีดเข็ม 2 ในต้นเดือนหน้า เพื่อดูการลดลงของภูมิต้านทาน และจะติดตามดูว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้เข็ม 3 เมื่อไหร่
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 มิ.ย. 64)
Tags: AstraZeneca, COVID-19, Sinovac, ฉีดวัคซีน, ซิโนแวก, ยง ภู่วรวรรณ, วัคซีน, วัคซีนต้านโควิด-19, แอสตร้าเซนเนก้า, โควิด-19