นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
แต่มองว่า ในปี 2567 มีโอกาสที่เงินลงทุนเคลื่อนย้ายมาตลาดหุ้นในภูมิภาค ASEAN โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก สังเกตจากเงินบาทที่มีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าในระยะปานกลาง ประกอบกับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้สูงกว่าคาด ตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว การส่งออก และการบริโภคภายในประเทศ
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) และ Forward P/E ในปี 2567 ของ SET ไปยังจุดที่มีความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ขณะที่มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมใน SET ที่มีคาดการณ์ EPS Growth สูงแต่มี valuation ที่ยังอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต
อย่างไรก็ดี ในปี 2566 แม้ตลาดหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าตลาดหุ้นในหลายประเทศที่ได้รับอานิสงส์จากเงินทุนไหลเข้าจากแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลงและเงินสกุลดอลล่าร์อ่อนค่า แต่หากมองย้อนกลับไปในปี 2565 SET Index เป็นเพียงไม่กี่ดัชนีในโลกที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก และหากพิจารณาในช่วง 2565-2566 จะเห็นว่า SET Index เคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนีอื่นๆ ในภูมิภาค
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย
– ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 SET Index ปิดที่ 1,415.85 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 2.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยปรับลดลง 15.2% เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้า
– ในเดือนพฤศจิกายนปี 2566 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มการเงิน กลุ่มเกษตรและอาหาร และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
– ในเดือนธันวาคม 2566 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 39,980 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า 28.8% โดยมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในปี 2566 อยู่ที่ 53,331 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิเป็นเดือนแรกหลังจากขายสุทธิสิบเดือนต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม 2566
– ในเดือนธันวาคม 2566 มีบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ซื้อขายใน SET 2 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. เอเชีย เน็ตเวิร์ค อินเตอร์เนชั่นแนล (ANI) และ บมจ. เอสซีจี เดคคอร์ (SCGD) และใน mai 1 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MGI)
– Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 16.7 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 13.4 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 19.4 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 15.0 เท่า
– อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 3.21% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.28%
ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
– ในปี 2566 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 532,886 สัญญา ลดลง 5.8% จากปีก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures ขณะที่ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของ SET50 Index Futures ปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 ม.ค. 67)
Tags: ตลท., ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ศรพล ตุลยะเสถียร, เศรษฐกิจสหรัฐ