กระแสความนิยม “หม่าล่า” เครื่องเทศรสเผ็ดชาจากจีน ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านสุกี้ ขนมขบเคี้ยว พิซซ่า ในไทย หยิบ “หม่าล่า” มาสร้างสรรค์เป็นเมนูเสิร์ฟให้กับกลุ่มลูกค้ากันอย่างต่อเนื่อง ด้วยรสชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัวและเป็นเอกลักษณ์ ประกอบกับคนไทยชอบทานรสเผ็ดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และที่สำคัญแบรนด์ต่าง ๆ ในไทยฟัง “เสียงผู้บริโภค” ในโลกสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ว่า ทำไม หม่าล่าหม้อไฟและหม่าล่าสายพานถึงเป็นเมนูยอดนิยมของเหล่าหม่าล่าเลิฟเวอร์
จากการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสังคมออนไลน์ (Social Listening) ที่มีการพูดถึง “หม่าล่า” ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 11 กันยายน 2566 พบว่า สังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดียมีการพูดถึงหม่าล่ามากถึง 3,697 ข้อความ และ มี Engagement ทั้งหมดจำนวน 315,561 ครั้ง โดยแบ่งเป็น
- Twitter มีการพูดถึง 2,691 ข้อความ มีจำนวน Engagement 4,875 ครั้ง
- Facebook มีการพูดถึง 455 ข้อความ มีจำนวน Engagement 175,225 ครั้ง
- Instagram มีการพูดถึง 281 ข้อความ มีจำนวน Engagement 95,804ครั้ง
- YouTube มีการพูดถึง 270 ข้อความ มีจำนวน Engagement 39,657 ครั้ง
ทำไมเมนู “หม่าล่า” ถึงเป็นที่นิยม?
ในช่วงปีนี้กระแส “หม่าล่าชาบู” หรือ “หม่าล่าสายพาน” ในประเทศไทยมาแรงมาก ซึ่งหม่าล่าฟีเวอร์นั้นก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงปี 2018 แต่ในปีนั้นเมนูที่ได้รับความนิยมจะเป็น “หม่าล่าปิ้งย่างเสียบไม้” ที่เรามองไปทางไหนก็จะเห็นแต่ร้านที่ขายเมนูนี้ ซึ่งในช่วงนั้นจุดเริ่มต้นกระแสหม่าล่าก็ได้เกิดขึ้น โดยร้านที่ปลุกกระแสหม่าล่าฟีเวอร์นั่นก็คือ “Hai Di Lao” ร้านหม่าล่าหม้อไฟชื่อดังจากประเทศจีนที่เข้ามาเปิดสาขาที่ประเทศไทย ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีตั้งแต่วันแรกที่เปิดร้าน ซึ่งการเข้ามาของร้าน Hai Di Lao ทำให้ตลาดร้านอาหารในประเทศไทยมีเมนูที่นำหม่าล่าเข้ามาเป็นส่วนประกอบและก็ยังมีร้านหม่าล่าหม้อไฟใหม่ ๆ เข้ามาลงเล่นในตลาดอีกด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ จับกระแส “หม่าล่า” เผ็ดร้อนสไตล์จีน สู่เมนูยอดฮิตในไทย
Tags: Dataxet, DXT360, Social Listening, หม่าล่า