ก.ล.ต.ประกาศยุทธศาสตร์เรียกคืนความเชื่อมั่นตลาดทุนสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ยั่งยืน หนุน Investment Token

นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศยุทธศาสตร์ปี 67 เน้นส่งเสริมความเชื่อมั่น สร้างการเติบโต และการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมผลักดัน Invesment Token สร้างมูลค่าเพิ่มและความแข็งแกร่งให้กับตลาดทุนไทย เล็งเปิดทาง ThaiESG เข้าลงทุนได้

เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า สภาพแวดล้อมของตลาดทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การทำงานและการวางนโยบายในการกำกับดูแลของ ก.ล.ต.ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปด้วย และเน้นไปที่การสร้างความยั่งยืน รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆที่เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุน

ปัจจุบันยอมรับว่าตลาดทุนไทยเผชิญกับความท้าทายทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนจากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ก.ล.ต.จะต้องเร่งการฟื้นคืนความเชื่อมั่นกลับมาให้ตลาดทุนไทยมีความน่าเชื่อถือ ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ผ่านความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย

“ก.ล.ต.ไม่สามารถเดินไปคนเดียว จะต้องประสานความร่วมมือไปกับทุกฝ่ายในการช่วยกันเดินหน้าตลาดทุน สร้างการกำกับดูแลที่ดี และเน้นย้ำในด้าน Trust and Confidence เป็นรากฐานความไวิวางใจในการสร้างการเติบโตของตลาดทุน พร้อมกับการสร้างสมดุลและสมรรถนะให้กัจตลาดทุนไทยใน 3-5 ปีข้างหน้า”

นางพรอนงค์ กล่าว

ยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต. แบ่งออกเป็น 3 แกน แกนแรกเป็นเรื่องการส่งเสริมและสร้างฐานความเชื่อมั่น (Trust and Confidence) ที่ทางก.ล.ต.จะใช้สรรพกำลังของทีมงานกว่า 50% ในการทำงานสร้างความเชื่อมั่นภายใต้กลยุทธ์ “ป้อง ปราม ปราบ” ซึ่งจะมีแนวทางป้องกันความผิดปกติที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังต้องมีการยกระดับคุณภาพผู้สอบบัญชี และการปรับโครงสร้างของตลาดทุนให้แข็งแกร่งมากขึ้น

ส่วนแกนที่ 2 ก.ล.ต.จะเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยตอบโจทย์การปรับตัวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล, เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำ จากการมีความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน ทำให้ตลาดทุนไทยเป็นกลไกสู่ความยั่งยืน ภายใต้บริบทเศรษฐกิจดิจิทัล และสร้างให้ผู้ลงทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี

และ แกนที่ 3 เป็นการพัฒนาองค์กร ผ่านการสร้างนวัตกรรม ที่มีการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การสร้างให้ทีมงานและบุคคลากรในตลาดทุนมีความเป็นมืออาชีพ และมีความคิดที่ดี สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องไปกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้ระบบของตลาดทุนไทยขับเคลื่อนไปได้อย่างแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน

นายพรอนงค์ กล่าวว่า หลังจากที่มี พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลมาสักระยะหนึ่งแล้ว แม้ว่าในอดีตจะมีคนมองว่าการมีกฎหมายฉบับนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมและการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ปัจจุบันจะเห็นว่าหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วได้เริ่มมีการกำกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยที่จุดที่สำคัญของการมี พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล คือ จะต้องไม่มีความเลื่อมล้ำในการกำกับดูแลในเชิงของการคุ้มครองผู้ลงทุนกับสินทรัพย์ดั้งเดิมและสินทรัพย์ที่เป็น Digital Asset

สิ่งที่ ก.ล.ต.จะมุ่งเน้นเกี่ยวกับ Investment Token นั้น คือ อยากเห็น Use case ทั้งในเชิงของการระดมทุนกับโครงการที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และอยากเห็นการใช้เทคโนโลยีมาแข่งขัน ซึ่ง ก.ล.ต.จะเป็นผู้สร้างถนนให้สามารถลงทุนใน Investment Token ได้เช่นเดียวกับก.ล.ต.สร้างถนนให้นักลงทุนสามารถลงทุนในกองทุน TESG ได้เช่นกัน โดยเฉพาะในประเด็นของ TESG ไม่ได้จำกัดเฉพาะการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้เท่านั้น แต่สามารถลงทุนใน Investment Token ที่เกี่ยวข้องกับ ESG ที่ตอบโจทย์สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น Token เพื่อการลดคาร์บอน ที่มีการรับรองจากก.ล.ต.

“สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เกิดขึ้นในวันพรุ่งรี้ แต่เรามีถนนพร้อมที่จะขยับ ซึทงอยากฝากให้ลองพิจารณา แล้วถ้าจุดไหนยังไม่ใช้ ยังต้องปรับ ก็พร้อมทำงานประสานไปกับทุกคนที่เกี่ยวข้อง”

นางพรอนงค์ กล่าว

Investment Token คือ ช่องทางการระดมทุนที่ทาง ก.ล.ต.ไม่ได้เน้นการผ่องถ่ายผู้เล่นรายใหญ่เข้ามาระดมทุนใน Digital Asset โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงในการสร้างมูค่าเพิ่ม (Value added) ด้วยสินทรัพย์ที่เข้ามาระดมทุนว่าจะเอาอะไรมา Back และนำโครงการของการ Back ด้วยเทคโนโลยีที่มี คือ Blockchain ทำให้เกิดนวัตกรรม และท้ายที่สุดจะเข้าไปควบรวมกับสินทรัพย์ดั้งเดิม เช่น หุ้น ตราสารหนี้ ซึ่งในอนาคตสามารถ Tokenize ออกมาแล้วเป็นหน่วยเล็กๆที่เทคโนโลยีเชื่อมเข้าหากัน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 ธ.ค. 66)

Tags: , , ,