นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวเปิดงานเสวนาออนไลน์ “SME-PO ทางเลือกใหม่ในการระดมทุนของ SME และ Startup ว่า การสัมมนาในวันนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ SME และ Startup ในการทำความรู้จัการและสร้างการเข้าใจหลักเกณฑ์การระดมทุนช่องทางใหม่เป็นตลาดซื้อขายหุ้นในวงกว้างสำหรับ SME และ Startup หรือ หลักเกณฑ์ SME-PO รวมการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กระดานที่ 3 ถือว่าเป็นกระดานใหม่ที่จัดตั้งเพื่อผู้ประกอบการ SME และ Startup ที่เรียกว่า “LIVE Exchange”
ทั้งนี้ SME และ Startup มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องการจ้างงาน การเพิ่มปริมาณงานที่มีคุณภาพ การเพิ่มรายได้ให้กับพนักงาน ประกอบกับยังเป็นแหล่งนวัตกรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ โดยแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้มีการผลักดันเพิ่มศักยภาพ SME ซึ่งกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนเศรษฐกิจจาก SME เป็น 60% ภายในปี 2580
และ หนึ่งในแผนย่อยที่ผลักดัน คือ การสร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยกำหนดเป้าหมายวัดอัตรามูลค่าการระดมทุนผ่านตลาดทุนของ SME ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 10-16% ตั้งแต่ปี 2561-2580 ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ที่กำหนดเป้าหมายให้ตลาดทุนเป็นแหล่งเงินทุนของ SME และนวัตกรรม
ปัจจุบันพบว่า กิจการ SME มีมูลค่า GDP 1.34 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.2 ของ GDP ทั้งประเทศ และยังมีการจ้างงานทั่วประเทศกว่า 12.8 ล้านคน จะเห็นได้ว่า SME เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่พบว่าสิ่งที่ SME และ Startup ต้องเผชิญ คือ การหาเงินทุนเพื่อนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หรือเพื่อต่อยอดธุรกิจ
สำนักงาน ก.ล.ต.ในฐานะผู้กำกับและดูแลตลาดทุนได้มีนโยบายชัดเจนที่จะทำให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดใหญ่ หรือกิจการขนาดเล็ก หรือจัดตั้งอยู่ในรูปแบบใดๆ ก็ตาม เช่น บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในการเข้าถึงตลาดทุนให้สามารถระดมทุนได้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการ รวมถึงความคุ้มครองผู้ลงทุนให้สามารถลงทุนได้อย่างเหมาะสมตามความสามารถการรับความเสี่ยง
การออกหลักเกณฑ์การระดมทุนในวงกว้างสำหรับ SME และการจัดตั้งตลาดรองสำหรับ SME ครั้งนี้ถือว่าเป็นการสร้างนิเวศตลาดทุนสำหรับการระดมทุนกิจการ SME และ Startup ให้ครบสมบูรณ์ โดยมีหลักเกณฑ์การลงทุนในตลาดแรกและตลาดรองสำหรับซื้อขายหุ้นของผู้ลงทุนที่ช่วยให้ SME และ Startup ที่เดิมมีข้อจำกัดการเข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และ mai สามารถเข้ามาตลาด LIVE Exchange และยังได้ประโยชน์ทางด้านภาษี Capitalgain Tax เหมือนลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และ mai
หลักเกณฑ์ที่จะออกนี้จะมีการผ่อนปรนกว่าการระดมทุน IPO ในตลาดหลักทรัพย์และ mai โดยกิจการไม่ต้องยื่นำขออนุญาต ไม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน รวมถึงไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้สร้างระบบนิเวศให้เหมาะสม ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการเอสเอ็มอี ที่มาจาก 14 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา SME และ Startup และการลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กศอ. , สสว. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งการออกหลักเกณฑ์ที่ขจัดปัญหาของ SME และ Startup ในการระดมทุนผ่านตลาดทุน รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการระดมทุนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
นายไพบูลย์ ดำรงวารี ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า หลักเกณฑ์การระดมทุนช่องทางใหม่ที่เรียกว่า ตลาดซื้อขายหุ้นในวงกว้างสำหรับ SME และ Startup หรือ หลักเกณฑ์ SME-PO รวมการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนใน LIVE Exchange นั้น ผู้ประกอบการจะต้องมีคุณสมบัติต้องเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และต้องไม่เป็น Investment Company แต่ต้องมีการประกอบธุรกิจเป็นของตัวเอง รวมทั้งกรรมการและผู้บริหารต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยมีมูลค่าระดมทุนตั้งแต่ 10-500 ล้านบาท และจะถอนเงินที่ระดมทุนได้ต้องระดมทุนได้ไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าที่ตั้งไว้จึงจะสามารถนำเงินออกไปลงทุนได้ รวมถึงต้องเข้าจดทะเบียนในตลาด LIVE Exchange โดยกิจการที่จะเข้าระดมทุนได้ต้องเป็นกิจการเอสเอ็มอีขนาดกลางตามคำนิยามของ สสว. หรือเป็น Startup ที่มี PE หรือ VC เข้ามาลงทุนในบริษัท และต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนจากสำนักงาน ก.ล.ต.
ก.ล.ต. ได้มีกระบวนการพิจารณาให้ SME และ Startup เข้าจดทะเบียนในตลาดในลักษณะผอ่นปรนเรื่องกฎเกณฑ์การระดมทุน ไม่เข้มงวดไม่เหมือน SET และ mai รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลหรือไฟลิ่ง ทั้งข้อมูลและระยะเวลาก็มีลักษณะผ่อนปรนมากกว่า ได้แก่ ไม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เพื่อลดต้นทุน กำหนดส่งงบการเงินทุก 6 เดือนโดยผู้สอบบัญชีเป็นผุ้สะสังกัดบริษัทหรือบริษัทที่ผู้สอบบัญชีเข้าไปตรวจคุณภาพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.
และ เมื่อกิจการยื่นไฟลิ่งกับ ก.ล.ต.จะมีกระบวนการ Clound Opinion ซึ่งเป็นการเปิดให้นักลงทุนสอบถามสิ่งที่สงสัยในข้อมูลไฟลิ่ง ซึ่งบริษัทก็มีหน้าที่ตอบหรือชี้แจงข้อมูล โดยให้ระยะเวลา 30 วัน หลังจากทิ้งไว้ 14 วัน จากนั้นกิจการก็ใส่ราคาขายและกำหนดวันเสนอขาย และหลังจากนั้นตลาดหลักทรัพย์รับจดทะเบียนแล้ว
ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ก็จำกัดผู้ลงทุนในตลาด LIVE Exchange ที่จะไม่ได้อนุญาตให้ผู้ลงทุนทั่วไป แต่เปิดให้กับผู้ลงทุนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเอสเอ็มอี เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน, Private Equity, Venture Captital, Angle Investor หรือกลุ่มคนคุ้นเคยกิจการ เช่น ผู้บริหาร พนักงาน และ บุคคลที่มีฐานะการเงินตามหลักเณฑ์ตามที่ ก.ล.ต.กำหนด
ทั้งนี้ ตลาด LIVE Exchange เปิดซื้อขายเป็นรอบ 9.30-11.00 น.ด้วยการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต
SME หรือ Startup ผู้ระดมทุน มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลในเอสเอ็มอีไฟลิ่ง (แบบ 69-SME-PO) เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจการลงทุน ได้แก่ 1.ข้อมูลบริษัท 2 การกำกับดูแลกิจการและการขับเคลื่อนธุรกิจที่มีความยั่งยืน 3. ข้อมูลผลการดำเนินงาน 4. ข้อมูลอื่นๆที่เห็นว่าเป็นข้อมูลสำคัญ 5. ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ 6. ข้อมูลเกี่ยวกันการจอง การจำหน่ายหลักทรัพย์ 7.การรับรองความถูกต้องของข้อมูล
นายณัฐพล สุวรรณสิริ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝายกลยุทธ์ธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการเข้าจดทะเบียนและหน้าที่ของบริษัทจดทะเบียนใน LIVE Exchange กล่าวว่า หน้าที่หลังเข้าจดทะเบียนในตลาดแล้วมี 2 ด้าน ได้แก่ 1.การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญให้กับผู้ลงทุนทราบ และ 2. หน้าที่การดำรงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียน
การเปิดเผยข้อมูลสำหรับ LIVE Exchange ตามรอบเป็นรายครึ่งปีซึ่งผ่อนปรนความถี่ และการเปิดเผยข้อมูลตามเหตุการณ์ ที่จะกำหนดเฉพาะเหตุการณ์สำคัญหรือเหตุการณ์ที่กำหนดในกฎหมายเท่านั้น ซึ่งจำนวนเรื่องที่เปิดเผยก็ผ่อนปรนมากกว่า SET และ mai รวมถึงรายงานต่างๆที่ใช้เอกสารประกอบ ตลท.ก็จะผ่อนปรน อย่างไรก็ตาม ตลท.จะมีช่องทางให้ผู้ลงทุนสามารถสอบถามไปยังบริษัทจดทะเบียนได้ซึ่งก็มีหน้าที่ตอบข้อซักถาม
ส่วนการดำรงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียน ยกเว้น หรือไม่มีกำหนดหน้าที่ดำรงสถานะในตลาดได้
นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต.และตลท.มองว่าการเข้าจดทะเบียนใน LIVE Exchage เป็นเหมือนสปริงบอร์ด ให้ SME และ Startup หลังจากที่บริษัทมีความพร้อมอยากเติบโตสปริงบอร์ดตัวเองย้ายเข้ามาใน SET หรือ mai ที่เป็นกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ ทาง ตลท.ก็ออกแบบให้บริษัทจดทะเบียนยังคงซื้อขายในตลาด LIVE Exchange ได้อยู่ ไม่จำเป็นต้องเพิกถอนออกจากตลาด
ฉะนั้น บริษัทไหนที่ต้องการย้ายกระดานเพื่อระดมทุนใน SET และ mai เพิ่มเติม โดยที่ยังอยู่ในตลาด LIVE Exchange ได้ และเมื่อใดที่บริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ ก.ล.ต.และ ตลท.กำหนด ก็สามารถยื่นเรื่องได้ และก็จะพิจารณาและอนุญาตหลักทรัพย์ โดยบริษัทขอหยุดการซื้อขายในตลาด LIVE Exchange เพื่อโอนย้ายข้อมูลเตรียมไปซื้อขายในตลาด SET หรือ mai
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 ธ.ค. 64)
Tags: SME, Startup, ก.ล.ต., ณัฐพล สุวรรณสิริ, รื่นวดี สุวรรณมงคล, ไพบูลย์ ดำรงวารี