กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานว่าจากการติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศ ฉบับที่ 5 (204/2564) ลงวันที่ 29 พ.ย. 64 แจ้งว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง เคลื่อนเข้าสู่แนวร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง คลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ในช่วงวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. 64
กอปภ.ก. จึงได้ประสานแจ้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา และเขต 18 ภูเก็ต เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. 64
สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้แก่
1. ชุมพร (ทุกอำเภอ)
2. สุราษฎร์ธานี 16 อำเภอ ได้แก่ ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง วิภาวดี กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก คีรีรัฐนิคม พนม เวียงสระ เคียนซา พระแสง บ้านนาสาร ชัยบุรี บ้านตาขุน เกาะสมุย และเกาะพะงัน
3. นครศรีธรรมราช 15 อำเภอ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช พรหมคีรี พิปูน ฉวาง ลานสกา ช้างกลาง ร่อนพิบูลย์ ทุ่งสง นาบอน ขนอม สิชล นบพิตำ ชะอวด ท่าศาลา และจุฬาภรณ์
4. พัทลุง 7 อำเภอ ได้แก่ ตะโหมด ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ กงหรา ป่าบอน ป่าพะยอม และเขาชัยสน
5. สงขลา 8 อำเภอ ได้แก่ เมืองสงขลา รัตภูมิ จะนะ หาดใหญ่ สะเดา สะบ้าย้อย นาหม่อม และนาทวี
6. ปัตตานี 1 อำเภอ ได้แก่ โคกโพธิ์
7. ยะลา 6 อำเภอ ได้แก่ ยะหา กาบัง บันนังสตา กรงปินัง ธารโต และเบตง
8. นราธิวาส 3 อำเภอ ได้แก่ ศรีสาคร รือเสาะ และจะแนะ
9. ระนอง (ทุกอำเภอ)
10. พังงา 5 อำเภอ ได้แก่ ตะกั่วทุ่ง คุระบุรี กะปง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง
11. ภูเก็ต 1 อำเภอ ได้แก่ ถลาง
12. กระบี่ 3 อำเภอ ได้แก่ เมืองกระบี่ เขาพนม และปลายพระยา
13. ตรัง 5 อำเภอ ได้แก่ เมืองตรัง รัษฎา นาโยง ห้วยยอด และย่านตาขาว
14. สตูล 4 อำเภอ ได้แก่ เมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง และละงู
ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ได้แก่
1. ชุมพร 6 อำเภอ ได้แก่ เมืองชุมพร ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน และละแม
2. สุราษฎร์ธานี 9 อำเภอ ได้แก่ เมืองสุราษฎร์ธานี ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง พุนพิน กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก เกาะพะงัน และเกาะสมุย
3. นครศรีธรรมราช 6 อำเภอ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช ขนอม สิชล ท่าศาลา ปากพนัง และหัวไทร
4. สงขลา 6 อำเภอ ได้แก่ เมืองสงขลา ระโนด สทิงพระ สิงหนคร จะนะ และเทพา
5. ปัตตานี 5 อำเภอ ได้แก่ หนองจิก ยะหริ่ง ปะนาเระ สายบุรี และไม้แก่น
6. นราธิวาส 2 อำเภอ ได้แก่ เมืองนราธิวาส และตากใบ
ทั้งนี้ ได้กำชับให้จังหวัดประสานอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูล สภาพอากาศอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เฝ้าระวังปริมาณฝนสะสมโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า ผ่านกลไกการสื่อสารแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ พร้อมเน้นย้ำทีมปฏิบัติการวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกมิติ
อย่างไรก็ดี หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์ หรือสถานการณ์ขยายวงกว้างให้จัดเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ชุดเคลื่อนที่เร็ว รถปฏิบัติการ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และปฏิบัติตามแนวทางของแผนเผชิญเหตุในแต่ละพื้นที่อย่างเคร่งครัด
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 พ.ย. 64)
Tags: กอปภ.ก., น้ำท่วม, ปภ., ฝนตก, ภาคใต้, อุทกภัย